วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555
นักจิตวิทยาใครว่าไม่สำคัญ
นักจิตวิทยาใครว่าไม่สำคัญ เมื่อปัญหาทางจิตเป็นตัวบ่อนทำลาย ความสุขของชีวิตเกือบทั้งหมด
นักจิตวิทยาต่างกับจิตแพทย์
นักจิตวิทยา คือผู้ที่เรียนรู้พฤติกรรมต่างๆของคน ทั้งปกติและไม่ปกติ ตั้งแต่เกิดจนตาย หรือเป็นพิเศษเฉพาะช่วงใดช่วงหนึ่งกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
และบางทีศึกษาพฤติกรรม ของสัตว์ด้วย เนื่องจากจิตวิทยามีหลายสาขา อาจเรียนจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับด้านนั้นๆ
ยกตัวอย่างจิตวิทยาทหาร ก็เรียนเกี่ยวกับการรบ การรู้ใจข้าศึก การทำสงคราม จิตวิทยาต่างๆ จิตวิทยาโรงเรียนก็พูดถึงพัฒนาการของเด็ก
ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ จำ เข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ประเมินค่าต่างๆ
ถ้าเป็นจิตวิทยาคลีนิค จะเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ผิดปกติ พฤติกรรมที่ผันแปร หรือป่วยไป ถ้าจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ก็ต้องเปลี่ยนโดยวิธีของนักจิตวิทยา เช่น อาจทำจิตบำบัด ทำพฤติกรรมบำบัดในเทคนิคต่างๆ จิตวิทยามีหลายสาขามากมาย
ส่วน จิตแพทย์นั้น ต้องเรียนแพทย์ ให้ได้ปริญญาแพทยศาสตร์ก่อน จากนั้น จึงเรียนเป็น จิตแพทย์ เน้นเกี่ยวกับการรักษา
ที่เรียกว่าเวชศาสตร์เป็นสำคัญ และเน้นการรักษา ที่ใช้ยาเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม จิตแพทย์อาจมีวิธีรักษาแบบอื่นประกอบ เช่น
ใช้จิตบำบัด เช่นเดียวกับนักจิตวิทยาก็ได้ แต่ความต่างของสองวิชาชีพนี้ ก็คือ จิตแพทย์ต้องเป็นแพทย์ มาก่อน
ค่อยไปเรียนต่อวิชาเวชศาสตร์เหมือนกับแพทย์ทั่วๆ ไป ที่เรียนต่อแพทย์ เฉพาะทางสาขาต่างๆ นักจิตวิทยา ในประเทศไทย
เรียนจิตวิทยาระดับปริญญาโท แต่ในอเมริกานักจิตวิทยาที่จะทำคลีนิคได้ ต้องเป็นปริญญาเอก
ระหว่างนักจิตวิทยา กับจิตแพทย์ ใครรู้เรื่องพฤติกรรมมนุษย์ มากกว่า
ตามหลักการแล้ว จิตแพทย์ จะเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์น้อยกว่านักจิตวิทยา เพราะฉะนั้น บริการของโรงพยาบาล จิตเวชทั้งหลาย
จะมีนักจิตวิทยาคลีนิคอยู่ด้วย ในกรณีที่ พฤติกรรมแปรปรวนมาก จิตแพทย์อาจต้องการ ทราบพฤติกรรมผู้ป่วย ในเชิงรายละเอียด
หรือต้องการทราบเชิงลึกเพื่อวางแผนรักษาก็ให้นักจิตวิทยาศึกษา เพื่อวิเคราะห์ว่าอะไรทำให้ป่วย ตอนนี้ป่วยมากไหม
และแนวโน้มจะหายในอนาคต มากไหม เพื่อช่วยในเชิงของการพยากรณ์โรค เพราะฉะนั้น นักจิตวิทยาในโรงพยาบาล จิตเวช
จะมีลักษณะหน้าที่หลัก ๒ อย่าง คือ
ประการแรก ทำหน้าที่คล้ายห้องแล็บทดลองให้จิตแพทย์ โดยจะพาผู้ป่วย มาเข้าห้องแล็บ เรียกว่าเป็นห้องทดลอง
ห้องทดสอบตามหลักจิตวิทยา จะให้ทดลองทำแบบทดสอบ ทางจิตวิทยา* หรือกรณีต่างๆ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้
หรือกระบวนการคิด กระบวนการจำต่างๆ เพื่อ ให้ได้สาเหตุของอาการแปรปรวน ตามที่จิตแพทย์ ร้องขอมา
เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่งผลการตรวจเลือด ให้แพทย์ที่รักษาคล้ายๆอย่างนั้น
อีกประการหนึ่ง คือ รักษาด้วยแต่เป็นการรักษาทางจิตวิทยา หรือใช้วิธีรักษา ที่เรียกว่า จิตบำบัด และพฤติกรรมบำบัด
ซึ่งเป็นหน้าที่หลัก แต่จะจ่ายยาให้คนไข้ไม่ได้ เพราะไม่มีอำนาจตามกฎหมาย จิตแพทย์เท่านั้นที่มีสิทธิจ่ายยา เช่น
ยากล่อมประสาท หรือยาระงับประสาท เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือควบคุมพฤติกรรมของคนไข้ส่วนหนึ่งต้องใช้ยา
ในกรณีที่คนไข้ฟุ้งซ่าน ยาก็จะช่วยผ่อนคลายได้ หรือในกรณีที่คนไข้ซึมเศร้ามาก ยาก็จะช่วย ให้มีอารมณ์เบิกบานขึ้น
แต่ว่ายาก็คือยา จะมีผลแค่ช่วงที่ยาออกฤทธิ์ อาจเป็น ๒๔ ชั่วโมงหรือเท่าไรก็แล้วแต่ หลังจากหมดฤทธิ์ยา
คนไข้ จะกลับสู่สภาพเดิม เพราะฉะนั้น ถ้าเราเรียนรู้ พฤติกรรมคนไข้รายนี้ว่าไม่เข้มแข็งพอหรือไม่ดีพอ
ขณะที่ผู้ป่วยสามารถคุมอารมณ์ได้ ช่วงนั้นเราจะช่วยเปลี่ยน พฤติกรรม คนไข้ ให้เข้มแข็งขึ้น
พอหมดฤทธิ์ยา พฤติกรรมเข้มแข็งนั้น จะได้ยังอยู่ต่อไป
การเปลี่ยนพฤติกรรม
มีมากมายหลายวิธี เช่น พูดคุย ปรับทุกข์ ชี้ทางออก ก็เหมือนกับเวลาเพื่อนมีปัญหา ทุกข์ใจ มาเล่าให้ฟัง
เราก็เพียงแต่รับฟัง รับรู้เท่านั้น คนไข้ก็สบายใจขึ้นได้ระดับหนึ่ง แต่นักจิตวิทยาอาจให้คำแนะนำมากกว่านั้น
เช่น คุณก็ทำอย่างนี้ซิ ๑,๒,๓,๔ และคนไข้ก็เลือกใช้วิธี ตามที่เหมาะสม กับสถานการณ์ หรือคิดว่าเหมาะสมกับตน
โรคทางจิตผู้ป่วยต้องช่วยดูแลตัวเองด้วย
โรคทางกายต่างๆ ผู้ป่วยก็ต้องแก้ไขที่ตัวเอง ด้วยเหมือนกัน เช่น โรคหัวใจ หรือ โรคทางกาย อื่นๆ แต่คนไทยมักชอบระบบอุปถัมภ์
ไม่ค่อย ช่วยตัวเองเช่น มีปัญหา เรื่องฟัน ทันตแพทย์ ช่วยได้เฉพาะการรักษา ส่วนการป้องกันฟันผุ เจ้าของฟัน ต้องช่วยเหลือตัวเอง
ดูแลรักษาฟันตั้งแต่เริ่มแรก แต่โรคทางจิตอาจค่อนข้างชัดเจน ที่คนไข้ต้องช่วยตนเองมากกว่าโรคอื่นๆ
ที่จริงแล้วการรักษาทั้งปวงในโลกนี้ ไม่ว่าจะรักษา แผนไทย แผนฝรั่ง หรือการรักษา แบบสมัยใหม่ ผู้ป่วยต้องช่วยเหลือ
ตัวเองอยู่แล้ว โดยธรรมชาติ และคนไข้พวกนี้ก็จะหายได้เร็วกว่า
ปัจจุบัน สงฆ์น่าจะทำหน้าที่ช่วยนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์อย่างสมัยก่อนได้
คงพร้อมระดับหนึ่ง เพราะว่ามีพระสงฆ์ ไม่มากนักที่จะเข้าใจโลกภายนอก เท่ากับโลกในแวดวงของสงฆ์เอง ท่านอาจไม่ค่อยรู้เรื่อง
ของสังคมปัจจุบันมากนัก หรือรู้ไม่ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น ถ้าพระสงฆ์จะทำหน้าที่เป็นจิตแพทย์ในชุมชน
เป็นตัวแทนนักจิตวิทยาในชุมชน ก็คงจะทำได้ระดับหนึ่ง เว้นแต่ว่าพระสงฆ์ท่านนั้น มีความเข้าใจ เรื่องทางโลกจนรู้เท่าทัน
และสามารถพูด คุยกับชาวบ้านได้เข้าใจ ในระดับที่ใกล้เคียงกัน แต่พระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่เคยเห็น ท่านก็ถนัดในวิธีของท่าน
โดยรู้โลกปัจจุบันไม่มากนัก
แต่พระสงฆ์ก็สามารถเข้าถึงชุมชนได้ดี
และสามารถแนะแนวทางการดำเนินชีวิตทำให้ชุนชนอยู่ดีมีสุขได้ดียิ่งขึ้น และในปัจจุบันนี้ก็มีพระสงฆ์ที่ศึกษาทางจิตวิทยา
ที่เรียกว่าพุทธจิตวิทยา ยิ่งไปกว่านั้นในเรื่องของพระอภิธรรมซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทางจิตล้วนๆ
พระสงฆ์ก็มีการศึกษาในจิต เจตสิก รูป นิพพาน จะมีการแยกจิตในพระอภิธรรมออกเป็นดวงๆให้เห็น
ซึ่งจะเจาะลงลึกกว่าจิตวิทยาของตะวันตกเสียอีก ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาแห่งปัญญา เป็นวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้
เป็นศาสนาที่สอนให้คนรุ้จักทุกข์ และหนทางพ้นทุกข์ ในขณะที่โลก สังคม ครอบครัว บุคคล
ขณะนี้เต็มไปด้วยทุกข์ทั้งทางกาย จิตใจ สังม สิ่งแวดล้อม คนไทยมีทุกข์ก็ไปหา พระ นักจิตวิทยา จิตแพทย์ นักสังคม เป็นต้น
คนไทยจะรู้สึกไม่ปกติ เมื่อต้องหาจิตแพทย์
มันเป็นคล้าย ตราบาปติดตัวอย่างหนึ่ง ถ้าใครเข้าโรงพยาบาลศรีธัญญา หรือ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา แต่เดี๋ยวนี้ก็ดีขึ้นเยอะ
ในต่างประเทศ เขาเรียนรู้กันมานาน จนเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา เขาเรียนตั้งแต่ในหลักสูตรชั้นมัธยมว่า
คนไข้โรคจิตชนิดหนึ่งซึ่ง popular ที่สุดคือ โรคจิตเภทหรือสกิโซฟรีเนีย (schizophrenia) รูปร่างเป็นอย่างนี้
มีอาการอย่างนี้ จะช่วยบำบัด เยียวยาอย่างไร ซึ่งการศึกษาของเรายังไม่มีตรงนี้ เพราะฉะนั้นความเป็นมา จึงต่างกัน
ฝรั่งเขาพยายาม ทำให้เป็นหลักวิทยาศาสตร์ แต่ของเรา มันเริ่มต้นมาจาก ไสยศาสตร์และ ความเชื่อผีบ้า
เราโทษที่ผีทำให้คนเป็นบ้า เมื่อเริ่มต้นที่ผี มันก็น่ากลัว คนก็ไม่อยากเข้าไปเกี่ยวข้อง
โอกาสที่คนควรพบกับจิตแพทย์ หรือ นักจิตวิทยา
ขอแนะนำว่า ๑. เมื่อชีวิตประจำวัน มีการเปลี่ยนแปลงไปต่างไปจากที่เคยๆ ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเรื่องการกินอยู่หลับนอน เช่น
เคยกิน ได้ปกติก็กินได้น้อยลง หรือไม่กินเลย เพราะ กินไม่ลง หรือกินมากเกินไป ๒. ความเป็นอยู่ ก็อยู่อย่างไม่เป็นสุข
แต่ก่อนคุย กับพรรคพวกเพื่อนฝูงได้ดี ทำงานได้ดี ตอนหลังโดดเดี่ยวตัวเองออกไปจากสังคม ๓. การหลับนอนก็หลับไม่เป็นสุข
หรือนอนไม่หลับ หรือหลับแต่ ละเมอฝันร้ายต่างๆ ชีวิตประจำวันผันแปร เบี่ยงเบนไป สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณอันหนึ่ง
ที่เตือนว่า เราน่าจะไปปรึกษาจิตแพทย์ หรือ นักจิตวิทยา หรือผู้ชำนาญการ
คำว่าจิตแพทย์ในทางปฏิบัติคงไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้ชำนาญทางจิต Psychiatrist ตามนัยของฝรั่ง
เพราะจิตแพทย์ของท่านนายกทักษิณ ก็เป็นหลวงพ่อองค์หนึ่ง (พระอิสระมุนี วัดธรรมวิหารี อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี)
ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ ที่น่านับถือ เป็นต้น หรืออาจเป็นวงศาคณาญาติ ที่มีประสบการณ์ผ่านโลกมาเยอะ นั่นคือจิตแพทย์
ในลักษณะหนึ่งสำหรับเราเหมือนกัน ถ้าไปหาผู้ชำนาญทางจิต Psychiatrist ตามนัยฝรั่ง บ้านเรามีเพียง ๓๐๐-๔๐๐ คน
ซึ่ง เทียบกับประชากร ๖๒ ล้านคนแล้ว ก็ไม่เพียงพอ แน่นอน แม้แต่นักจิตวิทยา ก็ยังมีไม่มากเท่าไร
Archive for the Category บุคคลสำคัญในวงการจิตวิทยา
ประวัติโดยสังเขปของอัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandura)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่ให้ความสนใจงานที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
อัลเบิร์ต แบนดูราเกิดที่เมืองอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย และได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยาคลินิก จากมหาวิทยาลัยไอโอวา (University of Iowa) เขาสนใจทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมจากการศึกษากับเคนเนธ สเปนซี (Kenneth Spence) และรอเบิร์ต เซียร์ส (Robert Sears) หลังจากจบการศึกษาในปี 1952 แบนดูราเข้าฝึกงานที่ศูนย์แนะแนววิชิตา (Wichita Guidance Center) เป็นเวลา 1 ปี ก่อนที่จะรับตำแหน่งที่ภาควิชาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) และทำงานที่นี่มาโดยตลอด แบนดูนาแตกต่างจากนักพฤติกรรมนิยมสุดขั้ว (radical behaviorist) จำนวนมาก เขามองว่าปัจจัยทางด้านการรู้คิด (cognitive factor) เป็นสาเหตุของพฤติกรรมของมนุษย์ งานวิจัยของเขาด้านทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมให้ความสนใจปฏิกิริยาระหว่างการรู้คิด พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม
งานของแบนดูราส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่การได้มาซึ่งความรู้ (acquisition) และการปรับเปลี่ยนลักษณะบุคลิกภาพของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการเรียนรู้โดยการสังเกต (observational learning) หรือการดูตัวแบบ(modeling) ซึ่งเขาชื่อว่าการเรียนรู้รูปแบบนี้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามมา ความรู้ที่ว่าเด็กเรียนรู้โดยการเลียนแบบผู้อื่นเป็นสิ่งที่รู้กันอยู่แล้ว แต่มีการวิจัยเพียงเล็กน้อยในเรื่องนี้ ก่อนที่นีล มิลเลอร์ (Neal Miller) และจอห์น ดอลลาร์ด (John Dollard) จะตีพิมพ์หนังสือเรื่อง Social Learning and Imitation ออกมาในปี 1941
แบนดูราได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้สร้างพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มั่นคงในมโนทัศน์เรื่องการเรียนรู้โดยการดูตัวแบบ หรือการเลียนแบบ งานของเขา ซึ่งมุ่งเน้นเป็นพิเศษในเรื่องธรรมชาติของความก้าวร้าว เสนอว่าการดูตัวแบบแสดงบทบาทสำคัญในการกำหนดความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม แบนดูราบอกว่าในทางปฏิบัติแล้ว อะไรก็ตามที่สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรง ก็สามารถเรียนรู้ได้จากการดูตัวแบบเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้โดยการดูตัวแบบจะเกิดขึ้น ไม่ว่าผู้สังเกตหรือตัวแบบจะได้รับรางวัลจากการกระทำนั้นๆ หรือไม่ก็ตาม ซึ่งต่างจากรูปแบบการเรียนรู้ของนักพฤติกรรมนิยม เช่น อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) หรือบี.เอฟ. สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขและการเสริมแรง
อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้โดยการดูตัวแบบก็แสดงให้เห็นว่า การลงโทษหรือการเสริมแรงสามารถส่งผลต่อสถานการณ์ของการเลียนแบบ เด็กจะพร้อมเลียนแบบผู้ที่ได้รับรางวัลมากกว่าผู้ที่ถูกลงโทษ ดังนั้น เด็กเรียนรู้ได้โดยที่ตนเองไม่ต้องได้รับรางวัลหรือการลงโทษ แนวคิดนี้มีชื่อว่า การเรียนรู้จากผู้อื่น (vicarious learning) เช่นเดียวกัน แบนดูราแสดงให้เห็นว่า เมื่อตัวแบบถูกเสนอด้วยสิ่งเร้าที่ต้องการวางเงื่อนไข ผู้ที่สังเกตเหตุการณ์นี้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมโดยตรง จะมีแนวโน้มที่จะถูกวางเงื่อนไขไปด้วย
แบนดูราพัฒนาการดูตัวแบบขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการบำบัด ซึ่งวางพื้นฐานอยู่บนงานวิจัยของเขา ผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง โดยการพิจารณาและเลียนแบบพฤติกรรมของผู้บำบัด แม้ว่าตอนแรกการดูตัวแบบจะทำการศึกษาในกลุ่มเด็ก แต่พบว่าวิธีการนี้ก็ได้ผลในการรักษาโรคกลัวในผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน ตอนแรกผู้ป่วยจะดูตัวแบบสัมผัสกับสิ่งที่พวกเขากลัว ภายใต้สภาวะที่ไม่มีการคุกคาม จากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการสนับสนุนให้กระทำตามตัวแบบ และสถานการณ์จะเริ่มคุกคามมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้ป่วยสามารถเผชิญหน้ากับสิ่งของหรือประสบการณ์ที่พวกเขากลัวได้ด้วยตนเอง
นอกจากนี้ แบนดูรายังให้ความสำคัญกับความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสัญลักษณ์ (symbolization) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการดูตัวแบบแบบผกผัน (inverse modeling) ในการใช้ความสามารถในเชิงสัญลักษณ์ คนเราจะสร้างตัวแบบภายใน (internal modeling) ขึ้นมา เพื่อเป็นสนามจำลองของการวางแผน การแก้ปัญหา และการใคร่ครวญ และแม้กระทั่งเอื้ออำนวยการสื่อสารกับผู้อื่น อีกแง่มุมหนึ่งของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมที่แบนดูราทำการสำรวจก็คือ self-regulatory activity หรือการที่มาตรฐานภายในส่งผลต่อแรงจูงใจและพฤติกรรม เขาศึกษาผลของความเชื่อของคนเราเกี่ยวกับตนเอง ต่อความคิด การเลือก ระดับแรงจูงใจ ความพากเพียร และความอ่อนไหวต่อความเครียดและความซึมเศร้า
แบนดูราแต่งหนังสือไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ Adolescent Aggression (1959), Social Learning and Personality (1963), Principles of Behavior Modification (1969), Aggression (1973), Social Learning Theory (1977), and Social Foundations of Thought and Action (1985) เป็นต้น
ประวัติโดยสังเขปของซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
นักประสาทวิทยา*ชาวออสเตรีย** และผู้ก่อตั้งแนวคิดจิตวิเคราะห์
ซิกมันด์ ฟรอยด์ เกิดที่แคว้นโมราเวีย ตอนเขาอายุ 3 ขวบ ครอบครัวของเขาย้ายไปยังกรุงเวียนนา เขาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่จนกระทั่งปีท้ายๆ ของชีวิต ฟรอยด์เข้าศึกษาที่สำนักการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเวียนนาตอนอายุ 17 ปี เขาสนใจการศึกษาหลากหลายสาขาของที่นี่ แม้ว่าฟรอยด์จะสนใจการวิจัยทางประสาทวิทยาเป็นหลัก แต่เขาก็จำเป็นต้องปฏิบัติงานทางคลินิก เนื่องจากปัญหาเรื่องการว่าจ้างของมหาวิทยาลัยที่เลวร้ายมากในกรณีของเขา ซึ่งเป็นผลมาจากทัศนคติและการเมืองที่ต่อต้านชาวยิว หลังจากการทำวิจัยอิสระและทำงานทางคลินิกที่โรงพยาบาลเวียนนามามากพอสมควร ฟรอยด์ออกมาทำงานส่วนตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางประสาทและ ฮิสทีเรีย
ระหว่างช่วงเวลานี้ ฟรอยด์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธี “การปลดปล่อยอารมณ์อย่างรุนแรง” (catharsis) ของโจเซฟ บริวเออร์ (Joseph Breuer) เพื่อนร่วมงานของเขา ในการรักษาอาการฮิสทีเรีย ซึ่งอาการหายไปเมื่อผู้ป่วยระลึกถึงความทรงจำที่เป็นบาดแผลในขณะที่อยู่ภาย ใต้การสะกดจิต และทำให้ผู้ป่วยสามารถแสดงอารมณ์ดั้งเดิมซึ่งถูกเก็บกดไว้และลืมมันไป ในการค้นคว้าความคิดนี้เพิ่มเติม ฟรอยด์ใช้เวลาหลายเดือนในการศึกษาวิธีการของฌอง-มาร์ติน ชาร์โคต์ (Jean-Martin Chacot) ในการรักษาฮิสทีเรียโดยการสะกดจิต เมื่อเดินทางกลับเวียนนา ฟรอยด์เริ่มต้นงานในการค้นหาวิธีการที่คล้ายกันในการรักษาโดยไม่ใช้การสะกดจิต ซึ่งเขาพบว่ามีข้อจำกัดที่ไม่น่าพึงพอใจ นอกจากฟรอยด์จะเรียนรู้จากการสังเกตอาการและประสบการณ์ของผู้ป่วยของเขาแล้ว เขายังใช้การวิเคราะห์ตัวเองจากความฝันอย่างเข้มงวดอีกด้วย ในปี 1895 เขาและบริวเออร์ตีพิมพ์หนังสือ Studies on Hysteria ซึ่งเป็นตัวบทที่เป็นหมุดหมายสำคัญของจิตวิเคราะห์ และในปี 1900 ผลงานชิ้นสำคัญของฟรอยด์ คือ หนังสือ The Interpretation of Dreams ก็ปรากฏขึ้น
ในช่วงเวลานี้ ฟรอยด์ทำงานโดยใช้องค์ความรู้ที่สำคัญในระบบจิตวิเคราะห์ของเขา คือ การระบายออกอิสระ (free association) และการปลดปล่อยอารมณ์อย่างรุนแรง ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจจิตไร้สำนึก โดยใช้ในการค้นหาความทรงจำที่ถูกเก็บกดไว้และเหตุผลของการเก็บกดนั้น ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักตนเองอย่างชัดแจ้งยิ่งขึ้น ผู้ป่วยที่นอนบนเก้าอี้นอนในห้องทำงานของเขาด้วยความผ่อนคลาย ถูกร้องขอให้ระบายออกทางความคิดอย่างอิสระ ซึ่งช่วยให้เกิดการตระหนักรู้ที่มีประโยชน์ และถูกร้องขอให้แสดงออกถึงสิ่งที่ปรากฏขึ้นในใจอย่างตรงไปตรงมา จากการรักษาผู้ป่วยและการวิเคราะห์ตัวเองของเขา ฟรอยด์มีความเชื่อว่าความผิดปกติทางจิตซึ่งไม่ปรากฏสาเหตุทางกายเกิดจากการตอบสนองในเชิงสัญลักษณ์ (symbolic reaction) ต่อความกระทบกระเทือนทางจิตใจ (psychological shock) โดยทั่วไปนั้นมาจากเรื่องเพศ และความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับความกระทบกระเทือนทางจิตใจเหล่านั้นจะส่งผลทาง อ้อมต่อเนื้อหาของความฝันและกิจกรรมของจิตสำนึก แม้มันจะถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึกก็ตาม
ฟรอยด์ตีพิมพ์หนังสือ The Psychopathology for Everyday Life ในปี 1904 และอีก 3 เล่มในปีต่อมา เช่น Three Essay on the Theory of Sexuality ซึ่งผลักดันความคิดของเขาเกี่ยวกับพัฒนาการของสัญชาติญาณทางเพศของมนุษย์ หรือลิบิโด (libido) รวมถึงทฤษฎีลักษณะทางเพศในวัยเด็ก (childhood sexuality) และปมออดิปุส (Oedipus complex) ในขณะที่ความสนใจจากแวดวงวิทยาศาสตร์และสาธารณะชนดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ในต้นทศวรรษ 1900 ฟรอยด์ได้ดึงดูดกลุ่มคนที่สนใจงานของเขา เช่น คาร์ล ยุง (Carl Jung) อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) และออตโต แรงค์ (Otto Rank) มาพบปะเพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ที่บ้านของ เขา และต่อมากลายเป็นกลุ่มที่ชื่อว่า Vienna Psychological Society แม้ว่าในที่สุดยุงและแอดเลอร์จะแยกตัวออกไปตั้งทฤษฎีและสำนักในการวิเคราะห์ ของตัวเอง แต่การสนับสนุนของพวกเขาในช่วงแรกได้ช่วยวางรากฐานให้จิตวิเคราะห์เป็นกระแสแนวคิด (movement) ที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ ในปี 1909 ฟรอยด์ได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยคล๊าก เมืองวอร์เชสเตอร์ รัฐแมซซาชูเซต โดยอธิการบดี เซอร์ จี. แสตนลีย์ ฮอลล์ (G. Stanley Hall) (1844 – 1924) นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียง และฟรอยด์ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์จากที่นี่ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ฟรอยด์มีชื่อเสียงมากขึ้นจากการที่จิตวิเคราะห์ได้รับความสนใจจากแวดวง ปัญญาชนและได้รับความนิยมจากสื่อ
ฟรอยด์เชื่อว่าบุคลิกภาพของมนุษย์ถูกกำหนดโดยพลังที่เรียกว่า “สัญชาติญาณ” (instincts) หรือ “แรงขับ” (drives) ต่อมา เขาเชื่อในการดำรงอยู่ของสัญชาติญาณแห่งความตาย (death instinct) หรือความปรารถนาในความตาย (death wish หรือ Thanatos) ทั้งความปรารถนาในความตายที่มุ่งไปยังภายนอก เช่น ความก้าวร้าว และความปรารถนาในความหมายที่มุ่งเข้าสู่ภายใน เช่น พฤติกรรมที่ทำลายตัวเอง เขาสร้างทฤษฎีที่รอบด้านในเรื่องโครงสร้างของจิต (psyche structure) โดยแบ่งโครงสร้างของจิตออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือ อิด (id) ซึ่งทำงานในระดับจิตไร้สำนึก เกี่ยวข้องกับการตอบสนองความพึงพอใจในความปรารถนาขั้นพื้นฐานและการปกป้อง ตัวเอง (self-preservation). มันทำงานโดยเกี่ยวข้องกับหลักแห่งความปรารถนา (pleasure principle) และอยู่นอกขอบเขตของกฎเกณฑ์ทางสังคมและข้อกำหนดทางศีลธรรม ส่วนต่อมาคือ อีโก (ego) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุผล อีโก้ควบคุมพลังของอิดและนำมันเข้าสู่แนวทางของหลักแห่งความจริง (reality principle) และนำพลังของอิดไปสู่พฤติกรรมที่สามารถยอมรับได้ และส่วนสุดท้ายคือ ซุปเปอร์อีโก้ (superego) หรือศีลธรรม ซึ่งพัฒนาขึ้นในวัยเด็ก ซุปเปอร์อีโก้คอยสอดส่องและตรวจสอบอีโก้ ปรับเปลี่ยนค่านิยมภายนอกให้เข้าสู่ภายในบุคคล เป็นกฎแห่งการควบคุมตัวเองซึ่งใช้ในการต่อต้านอิด ฟรอยด์มองพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลว่าเป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ ทั้ง 3 ส่วนของจิต
แก่นของโครงสร้างทางจิตของฟรอยด์ คือการเก็บกดความต้องการทางสัญชาติญาณ ที่ไม่ได้รับการตอบสนอง การเก็บกดเกิดขึ้นผ่านชุดของกลไกป้องกันตัวเอง (defense mechanisms) ในกระบวนการของจิตไร้สำนึก ฟรอยด์เป็นผู้ตั้งชื่อกลไกหลักๆ เหล่านี้ เช่น การปฏิเสธ (denial – การไม่สามารถยอมรับสิ่งที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล) การหาเหตุผลให้กับตัวเอง (rationalization – การอธิบายการกระทำของตนเองด้วยจุดมุ่งหมายที่สามารถยอมรับได้) การแทนที่ (displacement – การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกที่เก็บกดไว้ไปเป็นความรู้สึกที่สามารถยอมรับได้) การซัดโทษ (projection – การถ่ายเทความปรารถนาที่ไม่สามารถยอมรับได้ของตนเองไปยังบุคคลอื่น) และการชดเชย (sublimation – การเปลี่ยนความปรารถนาทางสัญญาติญาณที่ไม่สามารถยอมรับได้ของตนเองไปเป็นพฤติกรรมทางสังคมที่สามารถยอมรับได้)
ฟรอยด์ปรับปรุงทฤษฎีของเขาอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษ 1920 และเปลี่ยนแปลงแง่มุมพื้นฐานส่วนหนึ่งของเขา เช่น ทฤษฎีแรงจูงใจและทฤษฎีวิตกกังวล ในปี 1923 เขาเป็นมะเร็งที่กราม (เกิดจากการสูบซิการ์อย่างหนักตลอดชีวิตของเขา) และเข้ารับผ่าตัดหลายครั้งตลอดระยะเวลา 16 ปีต่อมา การเกิดขึ้นของนาซีในทศวรรษ 1930 ทำให้ชีวิตในเวียนนาของฟรอยด์ไม่ปลอดภัยมากขึ้น ในปี 1938 เขาจึงอพยพไปยังกรุงลอนดอน เป็นเวลา 1 ปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิต แนวคิดและทฤษฎีจำนวนมากของฟรอยด์ เช่น บทบาทของจิตไร้สำนึก ผลกระทบจากประสบการณ์ในวัยเด็กต่อพฤติกรรมในวัยผู้ใหญ่ และปฏิบัติการของกลไกป้องกันตัวเอง ยังคงเป็นแหล่งข้อมูลที่สร้างทั้งความขัดแย้งทางความคิดและแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลัง หนังสือเล่มอื่นๆ ของเขา ได้แก่ Totem and Taboo (1913) General Introduction to Psychoanalysis (1916) The Ego and the Id (1923) และ Civilization and Its Discontents (1930)
ประวัติโดยสังเขปของสตานิสลาฟ กรอฟ (Stanislav Grof)
สตานิสลาฟ กรอฟ เกิดในปี 1931 ที่กรุงปราก ประเทศเช็คโกสโลวาเกีย (ในขณะนั้น) กรอฟได้รับปริญญาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชาร์ลส์ (Charles University) และได้รับปริญญาเอกสาขาปรัชญาทางการแพทย์ (Doctor of Philosophy in Medicine) จากสถาบันวิทยาศาสตร์เช็คโกสโลวาเกีย (Czechoslovakian Academy of Science) กรอฟเริ่มต้นทำงานด้วยการทำวิจัยเกี่ยวกับยาหลอนประสาท (psychedelic) ระหว่างปี 1956 – 1960 และต่อมาใน ปี 1960 – 1967 เขาได้รับตำแหน่งผู้ควบคุมและตรวจสอบการวิจัย (Principle Investigator) ที่โปรแกรมวิจัยยาหลอนประสาทของสถาบันวิจัยทางจิตเวช ที่กรุงปราก จากนั้นกรอฟได้ย้ายไปทำงานที่อเมริก ในช่วง 7 ปีแรกที่นั่น เขาทำวิจัยเกี่ยวกับจิตบำบัดโดยใช้สารแอลเอสดี (LSD Psychotherapy) โดยใน 2 ปีแรกเขาทำงานที่ภาคีทางการวิจัยและคลินิก (Clinical and Research Fellow ) ที่มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกิ้น และหน่วยวิจัยของโรงพยาบาลสปริงกรูฟสเตท (Spring Grove State Hospital) ที่เมืองบัลติมอร์ และใช้เวลา 5 ปีต่อมาในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยจิตเวชที่ศูนย์วิจัยจิตเวชแมรีแลนด์ (Maryland Psychiatric Research Center) นอกจากนี้ กรอฟยังได้เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยเกี่ยวกับการบำบัดด้วยยาหลอนประสาทโครงการท้ายๆ ที่เกิดขึ้นในอเมริกา ต่อมาในปี 1973 – 1987 กรอฟได้รับทุนวิจัยที่สถาบันอีซาเลน (Esalen Institute) ที่เมืองบิ๊กเซอ รัฐแคลิฟอร์เนีย ที่นี่ เขาและคริสตินา กรอฟ ภรรยาของเขา ได้พัฒนาวิธีการบำบัดที่ไม่ใช้ยาหลอนประสาทขึ้น ซึ่งมีชื่อว่า การบำบัดด้วยการหายใจแบบโฮโลโทรปิก (Holotropic Breathwork) ซึ่งต่อมากลายเป็นเครื่องหมายการค้า (trademark) ของพวกเขาในการบำบัดและการฝึกอบรม
ตลอดช่วงที่ทำวิจัย กรอฟได้ควบคุมการทดลองใช้ยาหลอนประสาทถึงกว่า 3000 ครั้ง และศึกษาจากรายงานของคนอื่นๆ อีกกว่า 2000 ชิ้น ด้วยการเล็งเห็นถึงประสิทธิภาพของยาหลอนประสาทในการเข้าถึงสภาวะเหนือธรรมดาของจิตสำนึก (non – ordinary states of consciousness) กรอฟได้พัฒนาจิตบำบัดโดยใช้สารแอลเอสดีขึ้นเพื่อเข้าถึงสภาวะดังกล่าว แต่เนื่องจากต่อมามีกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามใช้ยาหลอนประสาทออกมา เขาจึงเลิกการบำบัดด้วยวิธีการนี้และและหันไปพัฒนาวิธีการอื่นที่จะเข้าถึงสภาวะเหนือธรรมดาของจิตสำนึก จนเกิดเป็นการบำบัดด้วยการหายใจแบบโฮโลโทรปิกขึ้น ซึ่งประกอบด้วยการหายใจอย่างรวดเร็ว (rapid breathing) การใช้ดนตรีที่เร้าความรู้สึกให้นึกถึงภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต (evocative music) และการสัมผัสที่ทำให้ผ่อนคลาย (bodywork) วิธีการนี้ช่วยให้บุคคลเข้าถึงสภาวะเหนือธรรมดาของจิตสำนึก ที่เรียกว่า สภาวะโฮโลโทรปิก (Holotropic state) ซึ่งกรอฟเชื่อว่าการเข้าถึงสภาวะดังกล่าวเป็นกระบวนการช่วยเยียวยาปัญหาทางจิตใจของบุคคลที่เกิดขึ้น รวมถึงปัญหาทางด้านจิตวิญญาณที่เกิดขึ้น ซึ่งเขาเรียกมันว่า วิกฤติทางจิตวิญญาณ (spiritual crisis or spiritual emergency)
แนวคิดของกรอฟถือเป็นแนวคิดที่บุกเบิกจิตวิทยากระแสที่สี่ (Fourth – Force Psychology) ที่มีชื่อว่า จิตวิทยาเหนือตน (Transpersonal Psychology) ขึ้น กรอฟ อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) แอนโทนี ซูติซ (Anthony Sutich) และนักจิตวิทยาแนวมนุษยนิยมกลุ่มหนึ่งที่สนใจมิติทางจิตวิญญาณเพื่อขยายขอบเขตงานทางด้านจิตวิทยา ร่วมกันก่อตั้งสมาคมจิตวิทยาเหนือตน (Association of Transpersonal Psychology – ATP) ขึ้น ต่อมา กรอฟเองได้ก่อตั้งสมาคมเหนือตนนานาชาติ (International Transpersonal Association – ITA) ขึ้นและดำรงตำแหน่งประธานสมาคม (ปัจจุบัน ปี 2009 เขากลับมาเป็นประธานอีกครั้ง) ปัจจุบันกรอฟดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยาที่สถาบันการศึกษาแบบองค์รวมแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Integral Study – CIIS) และสอนที่สถาบันบัณฑิตศึกษาแปซิฟิกา (Pacifica Graduate Institute) ที่เมืองซานตา บาบาร่า
ผลงานที่สำคัญของสตานิสลาฟ กรอฟ
• การพัฒนาทฤษฎีและการใช้ยาหลอนประสาทเป็นตัวช่วยในการทำจิตบำบัด ซึ่งบรรยายไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ LSD Psychotherapy จนกระทั่งปัจจุบันหนังสือเล่มนี้ถือเป็นงานที่เพียงชิ้นเดียวที่มีในหัวข้อนี้
• การตีพิมพ์ผลงานที่เป็นบทความทางวิชาการกว่า 150 เรื่อง และหนังสือ 20 เล่ม เกี่ยวกับทฤษฎีและการนำการวิจัยเกี่ยวกับจิตสำนึกสมัยใหม่ไปใช้ในทางจิตเวช จิตวิทยา และจิตบำบัด
• การสร้างแผนที่ทางจิต (Cartography of Psyche) แบบใหม่ขึ้น ซึ่งแบ่งจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับคือ
1.ระดับของจิตในชีวิตทั่วไปของบุคคล (Biographical-recollective level) และจิตไร้สำนึกแนวฟรอยด์ (the Freudian individual unconscious)
2. ระดับของจิตในช่วงขณะแห่งการเกิด (Perinatal level) ซึ่งเกี่ยวข้องกับบาดแผลทางจิตใจในขณะที่เกิด (trauma of birth)
3. ระดับของจิตที่พ้นไปจากตัวตน (Transpersonal level) ซึ่งเกี่ยวข้องกับแง่มุมที่หลากหลาย อาทิ the ancestral, racial, collective, phylogenetic, karmic, and archetypal matrices
• การพัฒนาการบำบัดด้วยการหายใจแบบโฮโลโทรปิกขึ้น ร่วมกับคริสตินา ภรรยาของเขา และโปรแกรมฝึกอบรมที่ชื่อ The Grof Transpersonal Training ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับฝึกอบรมผู้เอื้ออำนวย (facilitator) การหายใจแบบโฮโลโทรปิก ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 1000 คนในหลายพื้นที่ทั่วโลก
• การสร้างแนวคิดพื้นฐานของจิตวิทยาเหนือตนร่วมกันกับอับราฮัม มาสโลว์, แอนโทนี่ ซูติซ และคนอื่นๆ แนวคิดนี้ได้สำรวจประสบการณ์ของมนุษย์ในทุกๆ มิติ และพยายามรวมมิติทางจิตวิทยากับทัศนะแม่บทใหม่ของวิทยาศาสตร์ (new paradigm science) เข้าด้วยกัน กรอฟได้รับรางวัลพิเศษในฐานะผู้สร้างสรรค์และพัฒนาแวดวงจิตวิทยาเหนือตน จากสมาคมจิตวิทยาเหนือตน เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีของสมาคม ปัจจุบัน แนวคิดจิตวิทยาเหนือตนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจากที่เริ่มต้นขึ้นตอนปลายทศวรรษ 1960 ทุกวันนี้ มหาวิทยาลัยหลายแห่งในอเมริกามีการสอนแนวคิดนี้ มีวารสารพิเศษ 2 ฉบับ และมีการประชุมวิชาการของสมาคม นอกจากนี้ สมาคมจิตวิทยาเหนือตนได้เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก
• การพยายามสร้างพื้นฐานทฤษฎีที่มั่นคงของจิตวิทยาเหนือตน จากการสำรวจงานเขียนของเขาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยาเหนือตนกับความก้าวหน้าของทัศนะแม่บทใหม่ของวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย
• ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานสมาคมจิตวิทยาเหนือตนนานาชาติ เขากับคริสตินาร่วมกันจัดการประชุมใหญ่นานาชาติของสมาคมขึ้น 9 ครั้ง
• การเป็นที่ปรึกษาพิเศษภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เรื่อง Brainstorm จากการเชิญของบริษัท Metro’Goldwyn/Meyer และภาพยนตร์เรื่อง Millenium ปัจจุบัน กรอฟสนใจที่จะกลับไปทำโครงการที่ใช้เทคนิคพิเศษในปัจจุบันแสดงภาพของสภาวะเหนือธรรมดาของจิตสำนึกในบริบทของภาพยนตร์เกี่ยวกับสภาวะเหนือตน
ประวัติโดยสังเขปของคาร์ล รอเจอร์ส (Carl Rogers)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้พัฒนาวิธีการจิตบำบัดที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient-centered) และไม่ชี้นำ (nondirective) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “จิตวิทยามนุษยนิยม” (humanistic psychology)
คาร์ล รอเจอร์สเกิดที่เมืองโอ๊คพาร์ค รัฐอิลลินอยส์ ในครอบครัวที่เคร่งศาสนาคริสต์. รอเจอร์สเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (University of Wisconsin) หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาเข้าเรียนที่ Union Theological Seminary เพื่อเป็นบาทหลวง พร้อมๆ กับเรียนปริญญาโทและเอกในด้านการศึกษาและจิตวิทยาคลินิกที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University)*. ระหว่างปี 1928 ถึง 1939 รอเจอร์สทำงานเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่สมาคมป้องกันการทารุณเด็ก (Society for Cruelty to Children) ในเมืองโรเชสเตอร์. ในปี 1940 เขาถูกเชิญไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ (Ohio State University). ในช่วงนั้น เขาค่อยๆ พัฒนาระบบการบำบัดที่ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (client-centered therapy)** ขึ้น ซึ่งปรากฏเป็นรูปเป็นร่างในหนังสือเล่มที่สองของเขาที่ชื่อ “การปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด” (Counseling and Psychotherapy) ตีพิมพ์ในปี 1942.
รอเจอร์สเชื่อว่าสภาวะทางจิตที่แท้จริงของผู้ป่วยทุกคน (เขาเรียกผู้ป่วยว่า “ผู้รับบริการ” [client]) สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้โดยสภาพแวดล้อมในการบำบัดที่เหมาะสม. ส่วนสำคัญของสภาพแวดล้อมดังกล่าวก็คือ สัมพันธภาพส่วนบุคคลที่ใกล้ชิดระหว่างผู้รับบริการกับผู้บำบัด. การที่รอเจอร์สใช้คำว่า “ผู้รับบริการ” แทนที่คำว่า “ผู้ป่วย” แสดงให้เห็นถึงการปฏิเสธสัมพันธภาพที่เน้นอำนาจเบ็ดเสร็จระหว่างผู้บำบัดกับผู้รับบริการตามแบบแผนดั้งเดิม โดยเขามองว่าผู้บำบัดและผู้รับบริการมีความเท่าเทียมกัน. ผู้รับบริการเป็นผู้กำหนดทิศทางทั่วๆ ไปของการบำบัด ในขณะที่ผู้บำบัดเป็นผู้เพิ่มการเข้าใจตนเองอย่างตระหนักรู้ (insightful self-understanding) ของผู้รับบริการผ่านทางการถามคำถามอย่างไม่เป็นทางการที่ช่วยทำให้กระจ่างชัด. ลักษณะเด่นของวิธีการของรอเจอร์สคือ การสะท้อน (reflecting) คำพูดของผู้รับบริการโดยผู้บำบัด ซึ่งช่วยถ่ายทอดสำนึกของความรับผิดชอบ (sense of respect) ให้เกิดขึ้น ด้วยความเชื่อมั่นในความสามารถของผู้รับบริการในการจัดการกับปัญหาของพวกเขา. แนวคิดในการร่วมมือกันระหว่างผู้รับบริการกับผู้บำบัดมีที่มาจากวิธีการของคาร์ล ยุง (Carl Jung). นอกจากนี้ ในช่วงแรกเริ่มของการพัฒนาระบบของรอเจอร์สยังได้รับอิทธิพลจากออตโต แรนค์ (Otto Rank) อีกด้วย.
การบำบัดแนวรอเจอร์เป็นผลสืบเนื่องจากความเชื่อของเขาที่ว่าองค์ประกอบพื้นฐานในธรรมชาติของมนุษย์คือแรงผลักดันที่มุ่งไปสู่การบรรลุศักยภาพในตนเองอย่างสมบูรณ์ แนวคิดดังกล่าวมีพื้นฐานจากมุมมองเชิงบวกที่มีต่อมนุษยชาติซึ่งตรงข้ามกับมุมมองของกลุ่มการวิเคราะห์จิต (psychoanalytic) ที่มองว่ามนุษย์ถูกขับเคลื่อนโดยแรงกระตุ้นที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสังคมซึ่งหยุดยั้งได้ยากและบ่อยครั้งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก. ในมุมมองของรอเจอร์ส ภารกิจหลักของการบำบัดคือการขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางผู้รับบริการในการบรรลุความจริงแท้ในตนเอง (self-actualization). นอกจากนี้ อีกสิ่งหนึ่งของการบำบัดแนวรอเจอร์ที่แตกต่างจากจิตวิเคราะห์ (psychoanalysis) ก็คือการมุ่งเน้นที่ความรู้สึกในปัจจุบันและทัศนคติของผู้รับบริการมากกว่าประสบการณ์ในวัยเด็ก.
หลังจากย้ายออกจากรัฐโอไฮโอในปี 1945 รอเจอร์สไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) และมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน. ในปี 1947 และ 1956 รอเจอร์สได้รับตำแหน่งประธานของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association). ความนิยมในวิธีการของเขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รอเจอร์ได้รับการกล่าวถึงอย่างมาก. การบำบัดแบบรอเจอร์สถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในทศวรรษ 1950 และ 1960 แนวคิดของเขาซึ่งต่อต้านอำนาจเบ็ดเสร็จในการบำบัดและมุ่งเน้นที่การยินยอมพร้อมใจเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย. รอเจอร์สตีพิมพ์หนังสือ “การบำบัดแบบยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง: การใช้งานในปัจจุบัน การนำไปใช้ และทฤษฎี” (Client-Centered Therapy: Its Current Practice, Implication, and Theory) ในปี 1951 และผลิตผลงานเป็นจำนวนมากในทศวรรษนั้น. ในปี 1956 สมาคมจิตวิทยาอเมริกันได้มอบรางวัล Distinguished Scientific Contribution Award ให้กับเขา. ในทศวรรษ 1960 รอเจอร์สได้สนใจกระแสแนวคิดที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ (human potential movement)*** (ดูรายละเอียดเพิ่มด้านล่าง – ผู้แปล) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นที่รัฐฟลอริดา โดยเขาได้นำหลักการบางอย่างของมันมาใช้ ซึ่งประกอบด้วยหลักการที่มุ่งเน้นความจริงใจและเปิดเผยในการแสดงความรู้สึกและใช้การบำบัดแบบกลุ่ม (group therapy). ในปี 1964 เขาและภรรยาย้ายไปอยู่ที่เมืองลา จอลลา รัฐแคลิฟลอเนีย เขายังคงเขียนหนังสือและบรรยายอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้ร่วมงานรับเชิญ (resident fellow) ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรมของตะวันตก (Western Behavioral Science Institution). หนังสือ On Becoming a Person ที่ตีพิมพ์ในปี 1961 กลายเป็นหนังสือที่แพร่หลายที่สุดของเขา. ในช่วง 10 ปีสุดท้ายของชีวิต รอเจอร์สให้ความสนใจอย่างลึกซึ้งกับการปฏิรูปการศึกษา. จากหลักการสำคัญของวิธีการบำบัดของเขา เขาเชื่อว่าครู (เช่นเดียวกับผู้บำบัด) ควรเป็นผู้เอื้ออำนวยการเรียนรู้ (facilitator) มากกว่าที่จะเป็นผู้ตัดสินหรือเป็นเพียงผู้ถ่ายทอดข้อเท็จจริง.
หนังสือเล่มอื่นๆ ของรอเจอร์ส ได้แก่ Psychotherapy and Personality Change (1954) Freedom to Learn: A View of What Education Might Become (1969) Carl Rogers on Encounter Group (1970) Carl Rogers on Personal Power (1977) และ A Way of Being (1980)
แปลจาก The Gale Encyclopedia of Psychology หน้า 549 – 550
* เดิมทีรอเจอร์สเข้าเรียนปริญญาตรีสาขาการเกษตร แต่้ต่อมาเปลี่ยนสาขาเป็นประวัติศาสตร์ หลังจากจบปริญญาตรี ในช่วงแรกรอเจอร์สเข้าเรียนที่ Union Theological Seminary เป็นหลักและมาเทคคอร์สจิตวิทยาและการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งโคลัมเบีย แต่สองปีหลังจากนั้นเข้าก็ย้ายมาเรียนที่นี่แบบเต็มเวลาจนกระทั่งจบปริญญาโทและเอก
** client-centered therapy – ดูเพิ่มเติมที่ การบำบัดแบบยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
*** human potential movement – กระแสแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือคนปกติให้บรรลุศักยภาพที่สมบูรณ์ของตนเองผ่านทางการผสมผสานวิธีการเชิงบำบัดและวิธีการปฎิบัติที่คัดสรรแล้ว คุณค่าของกระแสแนวคิดนี้ประกอบด้วยการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น (tolerance) ซึ่งเป็นการมองโลกในแง่ดี (optimism) ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ การมุ่งเน้นที่การสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างซื่อตรง การให้ความสำคัญกับการดำเนินชีวิตอย่างเต็มที่กับ “ที่นี่และปัจจุบัน” (here and now) และจิตวิญญาณแห่งการคิดค้นทดลองและการเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ
ประวัติโดยสังเขปของคาร์ล ยุง (Carl Jung)
จิตแพทย์ชาวสวิสและผู้ก่อตั้งจิตวิทยาการวิเคราะห์ (analytic psychology)
คาร์ล ยุง เกิดที่สวิสเซอร์แลนด์ เป็นบุตรของบาทหลวงของกลุ่มปฏิรูปสวิสเซอร์แลนด์ (Swiss Reform) เขาเข้าศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบาเซิล ได้รับปริญญาในปี 1900 และตัดสินใจเป็นจิตแพทย์ ยุงทำงานที่คลินิกจิตเวชของมหาวิทยาลัยซูริค โดยเป็นผู้ช่วยของเออเกน บลอยเลอร์* (Eugen Bleuler) (1857 – 1939) จิตแพทย์ผู้มีกิตติศัพท์ในงานด้านโรคจิตเภท (schizophrenia) นอกจากนี้ ยุงยังเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อศึกษากับปิแอร์ เจเนต์ (Pierre Jenet) (1859 – 1947) จิตแพทย์ผู้มีชื่อเสียงอีกด้วย ในปี 1905 เขาได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยซูริค และกลายเป็นแพทย์อาวุโสที่คลินิกของที่นั่น แต่ในที่สุดนิสัยรักความเป็นส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้นก็ผลักดันให้เขาลาออกจาก มหาวิทยาลัย การศึกษาเกี่ยวกับโรคจิตเภทชิ้นแรกๆ ของยุงที่ได้รับการตีพิมพ์ทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้นมา นอกจากนี้ เขายังเป็นที่รู้จักในฐานะที่คิดค้นแบบทดสอบการเชื่อมโยงคำศัพท์ (word association test) ขึ้นอีกด้วย
ยุงได้อ่านหนังสือ The Interpretation of Dreams ของซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) หลังจากที่มันถูกตีพิมพ์ออกมาไม่นานในปี 1900 และเริ่มติดต่อกับฟรอยด์ผ่านทางจดหมาย ในปี 1907 ทั้งสองได้พบกันและเริ่มติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเป็นเวลามากกว่า 6 ปีหลังจากนั้น ในปี 1909 ทั้งคู่เดินทางไปอเมริกาเพื่อเข้าร่วมงานครบรอบ 20 ปีของมหาวิทยาลัยคลาร์ก ที่เมืองวอร์เชสเตอร์ รัฐเมซซาชูเซทส์ โดยการเชิญของจี. แสตนลี่ ฮอลล์ (G. Stanley Hall) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ยุงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสนทนาที่พบกันที่บ้านของฟรอยด์ และมีคนอื่น ได้แก่ อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) และออตโต แรนค์ (Otto Rank) เข้าร่วมด้วย กลุ่มสนทนานี้พัฒนาไปเป็นสมาคมวิเคราะห์จิตแห่งเวียนนา (Vienna Psychoanalytic Society) และในปี 1911 ยุงก็ได้เป็นประธานคนแรกของสมาคมจิตวิเคราะห์นานาชาติ อย่างไรก็ตาม ยุงเริ่มพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิเคราะห์ (psychoanalysis) และธรรมชาติของจิตไร้สำนึก (unconscious) ที่ต่างจากฟรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยืนกรานของฟรอยด์ว่าด้วยเรื่องเพศเป็นพื้นฐานของอาการ ทางประสาท (neurosis) หลังจากหนังสือ Psychology of the Unconscious ของยุงได้รับการตีพิมพ์ในปี 1912 ความไม่ลงรอยกันระหว่างทั้งคู่ก็เริ่มต้นขึ้น และความสัมพันธ์ของพวกเขาก็สิ้นสุดลงในปี 1914 ในช่วงเดียวกันนี้ ยุงได้เผชิญกับช่วงเวลาแห่งความสับสนในชีวิต และได้ทำการวิเคราะห์ตนเองอย่างละเอียดจากความฝัน (เช่นเดียวกับที่ฟรอยด์ได้เผชิญกับวิกฤติการณ์ที่คล้ายคลึงกันในชีวิตของ เขา) นอกจากนี้ ยุงยังทำการสำรวจเทพนิยายและสัญลักษณ์อีกด้วย ความสนใจเรื่องนี้ทำให้เขาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยการเดินทางไปทวีปแอฟริกาและฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา ในช่วงทศวรรษ 1920 ใน เพื่อศึกษาเรื่องเล่าปรัมปราและศาสนาของวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ของตะวันตก
ยุงพัฒนาระบบของจิตวิเคราะห์ของตนเองขึ้นมา เขาเรียกมันว่า “จิตวิทยาการวิเคราะห์” (psychoanalytic) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของเขาในเรื่องการใช้สัญลักษณ์ (symbolism) การศึกษาตำนานโบราณ (mythology) และจิตวิญญาณ (spirituality) แนวคิดหลักของจิตวิทยาการวิเคราะห์คือบุคลิกภาพของปัจเจกบุคคล หรือไซคี (psyche) ซึ่งทำหน้าที่ใน 3 ระดับ โดย “อีโก” (ego) ทำงานในระดับจิตสำนึก (conscious) ส่วน “จิตไร้สำนึกส่วนบุคคล” (personal unconscious) คือที่รวบรวมประสบการณ์ที่ถูกเก็บกดไว้ ถูกลืม หรือถูกดึงออกมาจากจิตสำนึกในทางใดทางหนึ่ง นอกจากนี้ มันยังเป็นที่อยู่ของปมต่างๆ ซึ่งเป็นกลุ่มของความรู้สึก ความคิด ความทรงจำ ที่ปกติแล้วจะเกี่ยวข้องกับคนสำคัญ (เช่น พ่อแม่) หรือของสำคัญ (เช่น เงิน) ส่วนในระดับที่ลึกที่สุดและมีพลังที่สุด ยุงจัดไว้ให้เป็นที่อยู่ของการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์คือ “จิตไร้สำนึกร่วม” (collective unconscious) ซึ่งรวมเอาประสบการณ์ของคนรุ่นก่อน หรือแม้กระทั่งบรรพบุรุษที่เป็นสัตว์เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นการรักษาร่องรอยของการพัฒนาในเชิงวิวัฒนาการของมนุษยชาติตลอดช่วง เวลาที่ผ่านมา จิตไร้สำนึกร่วมเป็นที่เก็บรวมรวมภาพและสัญลักษณ์ที่ใช้ร่วมกัน เรียกว่า “แม่แบบ” (Achetypes) มันเกิดขึ้นในความฝัน เรื่องเล่าปรัมปรา และรูปแบบอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นแนวคิดที่เป็นสามัญ เช่น การเกิด การกลับมาเกิดใหม่ ความตาย วีรบุรุษ แผ่นดินแม่ และปิศาจ. รูปแบบของแม่แบบแตกต่างจากระบบภายในบุคลิกภาพ ซึ่งประกอบด้วย “เพอโซนา” (persona) หรือภาพที่ปรากฏแก่สาธารณะ “อะนิมา” (anima) และ “อะนิมัส” (animus) ซึ่งเป็นลักษณะของความเป็นเพศ “ชาโดว์” หรือสัญชาติญาณของความเป็นสัตว์ และ “ตัวตน” (self) ซึ่งแสวงหาความเป็นหนึ่งเดียว (unity) และความสมบูรณ์ (wholeness) ในมุมมองของยุง การวิเคราะห์ทั้งจิตไร้สำนึกส่วนบุคคลและจิตไร้สำนึกร่วมอย่างละเอียดเป็น สิ่งจำเป็นในการทำความเข้าใจบุคลิกภาพของปัจเจกบุคคลอย่างถ่องแท้
บางที ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของยุงอาจจะเป็นทฤษฎีที่ว่าปัจเจกบุคคลสามารถถูกจำแนกตามประเภทของทัศนคติทั่วๆ ไป คือ อินโทรเวิร์ต (introverted – การมองเข้าไปภายใน) กับเอ๊กซ์โทรเวิร์ต (extroverted – การมองออกไปภายนอก) ความสมบูรณ์ของจิต (psychic wholeness) หรือความเป็นปัจเจกบุคคล (individuation) ที่มนุษย์แสวงหาขึ้นอยู่กับการประนีประนอมความโน้มเอียงของรูปแบบการทำงานของจิตใจทั้ง 4 ด้าน ซึ่งแบ่งออกเป็นคู่ตรงข้าม คู่แรกคือ การสัมผัส (sensing) กับ การหยั่งรู้ (intuiting) ซึ่งเป็นวิธีการได้มาซึ่งความรู้ และคู่ที่สองคือ การคิด (thinking) กับ การรู้สึก (feeling) ซึ่งเป็นวิธีการประเมินค่าสิ่งต่างๆ หากลักษณะของบุคลิกภาพด้านใดมีอิทธิพลในจิตสำนึก ด้านตรงข้ามจะขยายตัวมากขึ้นในจิตไร้สำนึก คู่ตรงข้ามเหล่านี้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในการทดสอบเกี่ยวกับอาชีพรวมทั้งการทดสอบชนิดอื่นๆ
ในปี 1932 – 1942 ยุงทำงานเป็นศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคกลางแห่งซูริค แม้ว่าภาวะสุขภาพทำให้เขาต้องลาออก แต่เขาก็เขียนงานเกี่ยวกับจิตวิทยาการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องในช่วงชีวิตที่ว่างจากการทำงาน และสนับสนุนการบรรลุความสมบูรณ์ทางจิตผ่านทางการเปลี่ยนผ่านของบุคคล (personal transformation) และการค้นพบตนเอง (self-discovering) งานของยุงมีอิทธิพลในสาขาอื่นๆ ด้วยเช่นกัน นอกเหนือจากจิตวิทยา งานเขียนของเขาประกอบด้วยงานด้านศาสนา ศิลปะ วรรณกรรม และเรื่องลี้ลับ ได้แก่ การเล่นแร่แปรธาตุ ดาราศาสตร์ โยคะ การทำนายอนาคต และจานบิน หนังสือ Memories, Dreams, Reflections อัตชีวประวัติของยุงได้รับการตีพิมพ์ในปี 1961 ซึ่งเป็นปีที่เขาเสียชีวิต สถาบันจิตวิทยาการวิเคราะห์ก่อตั้งขึ้นทั่วโลก แต่ศูนย์นานาชาติของสถาบัน ซี. จี. ยุง ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1948 ยังคงตั้งอยู่ที่เมืองซูริค ยุงเป็นนักเขียนที่มีผลงานมากมาย งานของเขาที่รวบรวมไว้มี 19 หมวดด้วยกัน แต่งานจำนวนมากไม่ได้ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษจนกระทั่งหลังจากปี 1965 ก่อนหน้าที่จะเสียชีวิตไม่นาน ยุงได้เขียนหนังสือที่ชื่อ Human and His Symbols ขึ้น เป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงในการแนะนำแนวคิดของเขาในเรื่องสัญลักษณ์และความฝัน
ประวัติโดยสังเขปของอัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler)
จิตแพทย์ผู้เป็นที่รู้จักจากทฤษฎีจิตวิทยาปัจเจกบุคคล (Individual Psychology) และการบุกเบิกงานด้านเด็กและครอบครัว
อัลเฟรด แอดเลอร์เกิดที่ชานเมืองของกรุงเวียนนาในปี 1870*. หลังจากสำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งเวียนนา (University of Vienna) ด้านการแพทย์ในปี 1975 เขาเริ่มต้นทำงานด้านจักษุวิทยาแต่ต่อมาเปลี่ยนมาทำงานด้านจิตเวชศาสตร์. ในปี 1902 แอดเลอร์ได้เข้าร่วมกลุ่มสนทนาซึ่งต่อมากลายมาเป็น “สมาคมวิเคราะห์จิตแห่งเวียนนา” (Vienna Psychoanalytic Society). ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม. ในที่สุดแอดเลอร์ได้กลายเป็นประธานและเป็นบรรณาธิการของวารสารของกลุ่ม. อย่างไรก็ตาม ในปี 1907 แอดเลอร์เริ่มไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของฟรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเน้นหนักในเรื่องบทบาทของเรื่องเพศที่มีต่อการก่อตัวของบุคลิกภาพ ทำให้เขาเกิดความบาดหมางกับกลุ่มผู้ที่นิยมฟรอยด์.
ในปี 1911 แอดเลอร์และผู้ติดตามได้ลาออกจากสมาคมวิเคราะห์จิตและตั้งกลุ่มของพวกเขาเองขึ้นมา ชื่อว่า “สมาคมจิตวิทยาปัจเจกบุคคล” (Society of Individual Psychology) และพัฒนาระบบจิตวิทยาปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นแนวทางบำบัดรักษาที่เป็นองค์รวมและให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์. จิตวิทยาแบบแอดเลอร์มองปัจเจกบุคคลโดยให้ความสำคัญกับสังคมมากกว่าเรื่องเพศ และมุ่งเน้นที่การเลือก (choice) และการให้คุณค่า (value) มากกว่าจิตวิทยาแบบฟรอยด์. แอดเลอร์มองว่าปัจเจกบุคคลมุ่งแสวงหาความสมบูรณ์แบบและจัดการกับความรู้สึกด้อย (inferiority) (ต่อมาแนวคิดนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “ปมด้อย” [inferiority complex]). หลังจากได้ทำงานในโรงพยาบาลทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 แอดเลอร์ได้เกิดความสนใจในจิตวิทยาเด็ก (child psychology) ขึ้น. เขาก่อตั้งเครือข่ายคลินิกให้คำแนะนำเด็กของชุมชนขึ้นในระบบโรงเรียนของกรุงเวียนนา นำเสนอสิ่งที่อาจเป็นไปได้ว่าเป็นการให้คำปรึกษาครอบครัว (family counseling) ในยุคแรกเริ่ม. มีหน่วยบริการ 28 แห่งดำเนินงานในด้านนี้ จนกระทั่งนาซีมีคำสั่งให้ปิดในปี 1934. แต่กลุ่มของผู้ที่ทำการศึกษาครอบครัวโดยใช้แนวคิดของแอดเลอร์ยังคงพบปะกันทั้งในอเมริกาและแคนาดา.
ในปี 1926 แอดเลอร์ใช้เวลาอยู่ที่อเมริกาและกรุงเวียนนา. เขาถูกเชิญไปเป็นผู้บรรยายรับเชิญที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในเมืองนิวยอร์ค ในปี 1927. ในปี 1932 เขาเป็นผู้บรรยายที่วิทยาลัยการแพทย์ลองไอร์แลนด์ (Long Ireland Medial College) และย้ายไปอยู่ที่อเมริกาพร้อมกับภรรยา. แอดเลอร์เสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี 1937 ที่เมืองอเบอร์ดีน ประเทศสก็อตแลนด์ ในขณะเดินสายบรรยาย. มีองค์กรทางวิชาชีพที่ใช้แนวคิดของแอดเลอร์มากกว่า 100 แห่ง และมีสถาบันฝึกอบรมอีก 34 แห่ง ในอเมริกา แคนาดา และทวีปยุโรป.
นักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่ให้ความสนใจงานที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
อัลเบิร์ต แบนดูราเกิดที่เมืองอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย และได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยาคลินิก จากมหาวิทยาลัยไอโอวา (University of Iowa) เขาสนใจทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมจากการศึกษากับเคนเนธ สเปนซี (Kenneth Spence) และรอเบิร์ต เซียร์ส (Robert Sears) หลังจากจบการศึกษาในปี 1952 แบนดูราเข้าฝึกงานที่ศูนย์แนะแนววิชิตา (Wichita Guidance Center) เป็นเวลา 1 ปี ก่อนที่จะรับตำแหน่งที่ภาควิชาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) และทำงานที่นี่มาโดยตลอด แบนดูนาแตกต่างจากนักพฤติกรรมนิยมสุดขั้ว (radical behaviorist) จำนวนมาก เขามองว่าปัจจัยทางด้านการรู้คิด (cognitive factor) เป็นสาเหตุของพฤติกรรมของมนุษย์ งานวิจัยของเขาด้านทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมให้ความสนใจปฏิกิริยาระหว่างการรู้คิด พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม
งานของแบนดูราส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่การได้มาซึ่งความรู้ (acquisition) และการปรับเปลี่ยนลักษณะบุคลิกภาพของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการเรียนรู้โดยการสังเกต (observational learning) หรือการดูตัวแบบ(modeling) ซึ่งเขาชื่อว่าการเรียนรู้รูปแบบนี้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามมา ความรู้ที่ว่าเด็กเรียนรู้โดยการเลียนแบบผู้อื่นเป็นสิ่งที่รู้กันอยู่แล้ว แต่มีการวิจัยเพียงเล็กน้อยในเรื่องนี้ ก่อนที่นีล มิลเลอร์ (Neal Miller) และจอห์น ดอลลาร์ด (John Dollard) จะตีพิมพ์หนังสือเรื่อง Social Learning and Imitation ออกมาในปี 1941
แบนดูราได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้สร้างพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มั่นคงในมโนทัศน์เรื่องการเรียนรู้โดยการดูตัวแบบ หรือการเลียนแบบ งานของเขา ซึ่งมุ่งเน้นเป็นพิเศษในเรื่องธรรมชาติของความก้าวร้าว เสนอว่าการดูตัวแบบแสดงบทบาทสำคัญในการกำหนดความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม แบนดูราบอกว่าในทางปฏิบัติแล้ว อะไรก็ตามที่สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรง ก็สามารถเรียนรู้ได้จากการดูตัวแบบเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้โดยการดูตัวแบบจะเกิดขึ้น ไม่ว่าผู้สังเกตหรือตัวแบบจะได้รับรางวัลจากการกระทำนั้นๆ หรือไม่ก็ตาม ซึ่งต่างจากรูปแบบการเรียนรู้ของนักพฤติกรรมนิยม เช่น อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) หรือบี.เอฟ. สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขและการเสริมแรง
อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้โดยการดูตัวแบบก็แสดงให้เห็นว่า การลงโทษหรือการเสริมแรงสามารถส่งผลต่อสถานการณ์ของการเลียนแบบ เด็กจะพร้อมเลียนแบบผู้ที่ได้รับรางวัลมากกว่าผู้ที่ถูกลงโทษ ดังนั้น เด็กเรียนรู้ได้โดยที่ตนเองไม่ต้องได้รับรางวัลหรือการลงโทษ แนวคิดนี้มีชื่อว่า การเรียนรู้จากผู้อื่น (vicarious learning) เช่นเดียวกัน แบนดูราแสดงให้เห็นว่า เมื่อตัวแบบถูกเสนอด้วยสิ่งเร้าที่ต้องการวางเงื่อนไข ผู้ที่สังเกตเหตุการณ์นี้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมโดยตรง จะมีแนวโน้มที่จะถูกวางเงื่อนไขไปด้วย
แบนดูราพัฒนาการดูตัวแบบขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการบำบัด ซึ่งวางพื้นฐานอยู่บนงานวิจัยของเขา ผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง โดยการพิจารณาและเลียนแบบพฤติกรรมของผู้บำบัด แม้ว่าตอนแรกการดูตัวแบบจะทำการศึกษาในกลุ่มเด็ก แต่พบว่าวิธีการนี้ก็ได้ผลในการรักษาโรคกลัวในผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน ตอนแรกผู้ป่วยจะดูตัวแบบสัมผัสกับสิ่งที่พวกเขากลัว ภายใต้สภาวะที่ไม่มีการคุกคาม จากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการสนับสนุนให้กระทำตามตัวแบบ และสถานการณ์จะเริ่มคุกคามมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้ป่วยสามารถเผชิญหน้ากับสิ่งของหรือประสบการณ์ที่พวกเขากลัวได้ด้วยตนเอง
นอกจากนี้ แบนดูรายังให้ความสำคัญกับความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสัญลักษณ์ (symbolization) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการดูตัวแบบแบบผกผัน (inverse modeling) ในการใช้ความสามารถในเชิงสัญลักษณ์ คนเราจะสร้างตัวแบบภายใน (internal modeling) ขึ้นมา เพื่อเป็นสนามจำลองของการวางแผน การแก้ปัญหา และการใคร่ครวญ และแม้กระทั่งเอื้ออำนวยการสื่อสารกับผู้อื่น อีกแง่มุมหนึ่งของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมที่แบนดูราทำการสำรวจก็คือ self-regulatory activity หรือการที่มาตรฐานภายในส่งผลต่อแรงจูงใจและพฤติกรรม เขาศึกษาผลของความเชื่อของคนเราเกี่ยวกับตนเอง ต่อความคิด การเลือก ระดับแรงจูงใจ ความพากเพียร และความอ่อนไหวต่อความเครียดและความซึมเศร้า
แบนดูราแต่งหนังสือไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ Adolescent Aggression (1959), Social Learning and Personality (1963), Principles of Behavior Modification (1969), Aggression (1973), Social Learning Theory (1977), and Social Foundations of Thought and Action (1985) เป็นต้น
ประวัติโดยสังเขปของซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
นักประสาทวิทยา*ชาวออสเตรีย** และผู้ก่อตั้งแนวคิดจิตวิเคราะห์
ซิกมันด์ ฟรอยด์ เกิดที่แคว้นโมราเวีย ตอนเขาอายุ 3 ขวบ ครอบครัวของเขาย้ายไปยังกรุงเวียนนา เขาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่จนกระทั่งปีท้ายๆ ของชีวิต ฟรอยด์เข้าศึกษาที่สำนักการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเวียนนาตอนอายุ 17 ปี เขาสนใจการศึกษาหลากหลายสาขาของที่นี่ แม้ว่าฟรอยด์จะสนใจการวิจัยทางประสาทวิทยาเป็นหลัก แต่เขาก็จำเป็นต้องปฏิบัติงานทางคลินิก เนื่องจากปัญหาเรื่องการว่าจ้างของมหาวิทยาลัยที่เลวร้ายมากในกรณีของเขา ซึ่งเป็นผลมาจากทัศนคติและการเมืองที่ต่อต้านชาวยิว หลังจากการทำวิจัยอิสระและทำงานทางคลินิกที่โรงพยาบาลเวียนนามามากพอสมควร ฟรอยด์ออกมาทำงานส่วนตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางประสาทและ ฮิสทีเรีย
ระหว่างช่วงเวลานี้ ฟรอยด์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธี “การปลดปล่อยอารมณ์อย่างรุนแรง” (catharsis) ของโจเซฟ บริวเออร์ (Joseph Breuer) เพื่อนร่วมงานของเขา ในการรักษาอาการฮิสทีเรีย ซึ่งอาการหายไปเมื่อผู้ป่วยระลึกถึงความทรงจำที่เป็นบาดแผลในขณะที่อยู่ภาย ใต้การสะกดจิต และทำให้ผู้ป่วยสามารถแสดงอารมณ์ดั้งเดิมซึ่งถูกเก็บกดไว้และลืมมันไป ในการค้นคว้าความคิดนี้เพิ่มเติม ฟรอยด์ใช้เวลาหลายเดือนในการศึกษาวิธีการของฌอง-มาร์ติน ชาร์โคต์ (Jean-Martin Chacot) ในการรักษาฮิสทีเรียโดยการสะกดจิต เมื่อเดินทางกลับเวียนนา ฟรอยด์เริ่มต้นงานในการค้นหาวิธีการที่คล้ายกันในการรักษาโดยไม่ใช้การสะกดจิต ซึ่งเขาพบว่ามีข้อจำกัดที่ไม่น่าพึงพอใจ นอกจากฟรอยด์จะเรียนรู้จากการสังเกตอาการและประสบการณ์ของผู้ป่วยของเขาแล้ว เขายังใช้การวิเคราะห์ตัวเองจากความฝันอย่างเข้มงวดอีกด้วย ในปี 1895 เขาและบริวเออร์ตีพิมพ์หนังสือ Studies on Hysteria ซึ่งเป็นตัวบทที่เป็นหมุดหมายสำคัญของจิตวิเคราะห์ และในปี 1900 ผลงานชิ้นสำคัญของฟรอยด์ คือ หนังสือ The Interpretation of Dreams ก็ปรากฏขึ้น
ในช่วงเวลานี้ ฟรอยด์ทำงานโดยใช้องค์ความรู้ที่สำคัญในระบบจิตวิเคราะห์ของเขา คือ การระบายออกอิสระ (free association) และการปลดปล่อยอารมณ์อย่างรุนแรง ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจจิตไร้สำนึก โดยใช้ในการค้นหาความทรงจำที่ถูกเก็บกดไว้และเหตุผลของการเก็บกดนั้น ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักตนเองอย่างชัดแจ้งยิ่งขึ้น ผู้ป่วยที่นอนบนเก้าอี้นอนในห้องทำงานของเขาด้วยความผ่อนคลาย ถูกร้องขอให้ระบายออกทางความคิดอย่างอิสระ ซึ่งช่วยให้เกิดการตระหนักรู้ที่มีประโยชน์ และถูกร้องขอให้แสดงออกถึงสิ่งที่ปรากฏขึ้นในใจอย่างตรงไปตรงมา จากการรักษาผู้ป่วยและการวิเคราะห์ตัวเองของเขา ฟรอยด์มีความเชื่อว่าความผิดปกติทางจิตซึ่งไม่ปรากฏสาเหตุทางกายเกิดจากการตอบสนองในเชิงสัญลักษณ์ (symbolic reaction) ต่อความกระทบกระเทือนทางจิตใจ (psychological shock) โดยทั่วไปนั้นมาจากเรื่องเพศ และความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับความกระทบกระเทือนทางจิตใจเหล่านั้นจะส่งผลทาง อ้อมต่อเนื้อหาของความฝันและกิจกรรมของจิตสำนึก แม้มันจะถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึกก็ตาม
ฟรอยด์ตีพิมพ์หนังสือ The Psychopathology for Everyday Life ในปี 1904 และอีก 3 เล่มในปีต่อมา เช่น Three Essay on the Theory of Sexuality ซึ่งผลักดันความคิดของเขาเกี่ยวกับพัฒนาการของสัญชาติญาณทางเพศของมนุษย์ หรือลิบิโด (libido) รวมถึงทฤษฎีลักษณะทางเพศในวัยเด็ก (childhood sexuality) และปมออดิปุส (Oedipus complex) ในขณะที่ความสนใจจากแวดวงวิทยาศาสตร์และสาธารณะชนดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ในต้นทศวรรษ 1900 ฟรอยด์ได้ดึงดูดกลุ่มคนที่สนใจงานของเขา เช่น คาร์ล ยุง (Carl Jung) อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) และออตโต แรงค์ (Otto Rank) มาพบปะเพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ที่บ้านของ เขา และต่อมากลายเป็นกลุ่มที่ชื่อว่า Vienna Psychological Society แม้ว่าในที่สุดยุงและแอดเลอร์จะแยกตัวออกไปตั้งทฤษฎีและสำนักในการวิเคราะห์ ของตัวเอง แต่การสนับสนุนของพวกเขาในช่วงแรกได้ช่วยวางรากฐานให้จิตวิเคราะห์เป็นกระแสแนวคิด (movement) ที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ ในปี 1909 ฟรอยด์ได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยคล๊าก เมืองวอร์เชสเตอร์ รัฐแมซซาชูเซต โดยอธิการบดี เซอร์ จี. แสตนลีย์ ฮอลล์ (G. Stanley Hall) (1844 – 1924) นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียง และฟรอยด์ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์จากที่นี่ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ฟรอยด์มีชื่อเสียงมากขึ้นจากการที่จิตวิเคราะห์ได้รับความสนใจจากแวดวง ปัญญาชนและได้รับความนิยมจากสื่อ
ฟรอยด์เชื่อว่าบุคลิกภาพของมนุษย์ถูกกำหนดโดยพลังที่เรียกว่า “สัญชาติญาณ” (instincts) หรือ “แรงขับ” (drives) ต่อมา เขาเชื่อในการดำรงอยู่ของสัญชาติญาณแห่งความตาย (death instinct) หรือความปรารถนาในความตาย (death wish หรือ Thanatos) ทั้งความปรารถนาในความตายที่มุ่งไปยังภายนอก เช่น ความก้าวร้าว และความปรารถนาในความหมายที่มุ่งเข้าสู่ภายใน เช่น พฤติกรรมที่ทำลายตัวเอง เขาสร้างทฤษฎีที่รอบด้านในเรื่องโครงสร้างของจิต (psyche structure) โดยแบ่งโครงสร้างของจิตออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือ อิด (id) ซึ่งทำงานในระดับจิตไร้สำนึก เกี่ยวข้องกับการตอบสนองความพึงพอใจในความปรารถนาขั้นพื้นฐานและการปกป้อง ตัวเอง (self-preservation). มันทำงานโดยเกี่ยวข้องกับหลักแห่งความปรารถนา (pleasure principle) และอยู่นอกขอบเขตของกฎเกณฑ์ทางสังคมและข้อกำหนดทางศีลธรรม ส่วนต่อมาคือ อีโก (ego) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุผล อีโก้ควบคุมพลังของอิดและนำมันเข้าสู่แนวทางของหลักแห่งความจริง (reality principle) และนำพลังของอิดไปสู่พฤติกรรมที่สามารถยอมรับได้ และส่วนสุดท้ายคือ ซุปเปอร์อีโก้ (superego) หรือศีลธรรม ซึ่งพัฒนาขึ้นในวัยเด็ก ซุปเปอร์อีโก้คอยสอดส่องและตรวจสอบอีโก้ ปรับเปลี่ยนค่านิยมภายนอกให้เข้าสู่ภายในบุคคล เป็นกฎแห่งการควบคุมตัวเองซึ่งใช้ในการต่อต้านอิด ฟรอยด์มองพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลว่าเป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ ทั้ง 3 ส่วนของจิต
แก่นของโครงสร้างทางจิตของฟรอยด์ คือการเก็บกดความต้องการทางสัญชาติญาณ ที่ไม่ได้รับการตอบสนอง การเก็บกดเกิดขึ้นผ่านชุดของกลไกป้องกันตัวเอง (defense mechanisms) ในกระบวนการของจิตไร้สำนึก ฟรอยด์เป็นผู้ตั้งชื่อกลไกหลักๆ เหล่านี้ เช่น การปฏิเสธ (denial – การไม่สามารถยอมรับสิ่งที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล) การหาเหตุผลให้กับตัวเอง (rationalization – การอธิบายการกระทำของตนเองด้วยจุดมุ่งหมายที่สามารถยอมรับได้) การแทนที่ (displacement – การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกที่เก็บกดไว้ไปเป็นความรู้สึกที่สามารถยอมรับได้) การซัดโทษ (projection – การถ่ายเทความปรารถนาที่ไม่สามารถยอมรับได้ของตนเองไปยังบุคคลอื่น) และการชดเชย (sublimation – การเปลี่ยนความปรารถนาทางสัญญาติญาณที่ไม่สามารถยอมรับได้ของตนเองไปเป็นพฤติกรรมทางสังคมที่สามารถยอมรับได้)
ฟรอยด์ปรับปรุงทฤษฎีของเขาอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษ 1920 และเปลี่ยนแปลงแง่มุมพื้นฐานส่วนหนึ่งของเขา เช่น ทฤษฎีแรงจูงใจและทฤษฎีวิตกกังวล ในปี 1923 เขาเป็นมะเร็งที่กราม (เกิดจากการสูบซิการ์อย่างหนักตลอดชีวิตของเขา) และเข้ารับผ่าตัดหลายครั้งตลอดระยะเวลา 16 ปีต่อมา การเกิดขึ้นของนาซีในทศวรรษ 1930 ทำให้ชีวิตในเวียนนาของฟรอยด์ไม่ปลอดภัยมากขึ้น ในปี 1938 เขาจึงอพยพไปยังกรุงลอนดอน เป็นเวลา 1 ปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิต แนวคิดและทฤษฎีจำนวนมากของฟรอยด์ เช่น บทบาทของจิตไร้สำนึก ผลกระทบจากประสบการณ์ในวัยเด็กต่อพฤติกรรมในวัยผู้ใหญ่ และปฏิบัติการของกลไกป้องกันตัวเอง ยังคงเป็นแหล่งข้อมูลที่สร้างทั้งความขัดแย้งทางความคิดและแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลัง หนังสือเล่มอื่นๆ ของเขา ได้แก่ Totem and Taboo (1913) General Introduction to Psychoanalysis (1916) The Ego and the Id (1923) และ Civilization and Its Discontents (1930)
ประวัติโดยสังเขปของสตานิสลาฟ กรอฟ (Stanislav Grof)
สตานิสลาฟ กรอฟ เกิดในปี 1931 ที่กรุงปราก ประเทศเช็คโกสโลวาเกีย (ในขณะนั้น) กรอฟได้รับปริญญาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชาร์ลส์ (Charles University) และได้รับปริญญาเอกสาขาปรัชญาทางการแพทย์ (Doctor of Philosophy in Medicine) จากสถาบันวิทยาศาสตร์เช็คโกสโลวาเกีย (Czechoslovakian Academy of Science) กรอฟเริ่มต้นทำงานด้วยการทำวิจัยเกี่ยวกับยาหลอนประสาท (psychedelic) ระหว่างปี 1956 – 1960 และต่อมาใน ปี 1960 – 1967 เขาได้รับตำแหน่งผู้ควบคุมและตรวจสอบการวิจัย (Principle Investigator) ที่โปรแกรมวิจัยยาหลอนประสาทของสถาบันวิจัยทางจิตเวช ที่กรุงปราก จากนั้นกรอฟได้ย้ายไปทำงานที่อเมริก ในช่วง 7 ปีแรกที่นั่น เขาทำวิจัยเกี่ยวกับจิตบำบัดโดยใช้สารแอลเอสดี (LSD Psychotherapy) โดยใน 2 ปีแรกเขาทำงานที่ภาคีทางการวิจัยและคลินิก (Clinical and Research Fellow ) ที่มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกิ้น และหน่วยวิจัยของโรงพยาบาลสปริงกรูฟสเตท (Spring Grove State Hospital) ที่เมืองบัลติมอร์ และใช้เวลา 5 ปีต่อมาในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยจิตเวชที่ศูนย์วิจัยจิตเวชแมรีแลนด์ (Maryland Psychiatric Research Center) นอกจากนี้ กรอฟยังได้เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยเกี่ยวกับการบำบัดด้วยยาหลอนประสาทโครงการท้ายๆ ที่เกิดขึ้นในอเมริกา ต่อมาในปี 1973 – 1987 กรอฟได้รับทุนวิจัยที่สถาบันอีซาเลน (Esalen Institute) ที่เมืองบิ๊กเซอ รัฐแคลิฟอร์เนีย ที่นี่ เขาและคริสตินา กรอฟ ภรรยาของเขา ได้พัฒนาวิธีการบำบัดที่ไม่ใช้ยาหลอนประสาทขึ้น ซึ่งมีชื่อว่า การบำบัดด้วยการหายใจแบบโฮโลโทรปิก (Holotropic Breathwork) ซึ่งต่อมากลายเป็นเครื่องหมายการค้า (trademark) ของพวกเขาในการบำบัดและการฝึกอบรม
ตลอดช่วงที่ทำวิจัย กรอฟได้ควบคุมการทดลองใช้ยาหลอนประสาทถึงกว่า 3000 ครั้ง และศึกษาจากรายงานของคนอื่นๆ อีกกว่า 2000 ชิ้น ด้วยการเล็งเห็นถึงประสิทธิภาพของยาหลอนประสาทในการเข้าถึงสภาวะเหนือธรรมดาของจิตสำนึก (non – ordinary states of consciousness) กรอฟได้พัฒนาจิตบำบัดโดยใช้สารแอลเอสดีขึ้นเพื่อเข้าถึงสภาวะดังกล่าว แต่เนื่องจากต่อมามีกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามใช้ยาหลอนประสาทออกมา เขาจึงเลิกการบำบัดด้วยวิธีการนี้และและหันไปพัฒนาวิธีการอื่นที่จะเข้าถึงสภาวะเหนือธรรมดาของจิตสำนึก จนเกิดเป็นการบำบัดด้วยการหายใจแบบโฮโลโทรปิกขึ้น ซึ่งประกอบด้วยการหายใจอย่างรวดเร็ว (rapid breathing) การใช้ดนตรีที่เร้าความรู้สึกให้นึกถึงภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต (evocative music) และการสัมผัสที่ทำให้ผ่อนคลาย (bodywork) วิธีการนี้ช่วยให้บุคคลเข้าถึงสภาวะเหนือธรรมดาของจิตสำนึก ที่เรียกว่า สภาวะโฮโลโทรปิก (Holotropic state) ซึ่งกรอฟเชื่อว่าการเข้าถึงสภาวะดังกล่าวเป็นกระบวนการช่วยเยียวยาปัญหาทางจิตใจของบุคคลที่เกิดขึ้น รวมถึงปัญหาทางด้านจิตวิญญาณที่เกิดขึ้น ซึ่งเขาเรียกมันว่า วิกฤติทางจิตวิญญาณ (spiritual crisis or spiritual emergency)
แนวคิดของกรอฟถือเป็นแนวคิดที่บุกเบิกจิตวิทยากระแสที่สี่ (Fourth – Force Psychology) ที่มีชื่อว่า จิตวิทยาเหนือตน (Transpersonal Psychology) ขึ้น กรอฟ อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) แอนโทนี ซูติซ (Anthony Sutich) และนักจิตวิทยาแนวมนุษยนิยมกลุ่มหนึ่งที่สนใจมิติทางจิตวิญญาณเพื่อขยายขอบเขตงานทางด้านจิตวิทยา ร่วมกันก่อตั้งสมาคมจิตวิทยาเหนือตน (Association of Transpersonal Psychology – ATP) ขึ้น ต่อมา กรอฟเองได้ก่อตั้งสมาคมเหนือตนนานาชาติ (International Transpersonal Association – ITA) ขึ้นและดำรงตำแหน่งประธานสมาคม (ปัจจุบัน ปี 2009 เขากลับมาเป็นประธานอีกครั้ง) ปัจจุบันกรอฟดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยาที่สถาบันการศึกษาแบบองค์รวมแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Integral Study – CIIS) และสอนที่สถาบันบัณฑิตศึกษาแปซิฟิกา (Pacifica Graduate Institute) ที่เมืองซานตา บาบาร่า
ผลงานที่สำคัญของสตานิสลาฟ กรอฟ
• การพัฒนาทฤษฎีและการใช้ยาหลอนประสาทเป็นตัวช่วยในการทำจิตบำบัด ซึ่งบรรยายไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ LSD Psychotherapy จนกระทั่งปัจจุบันหนังสือเล่มนี้ถือเป็นงานที่เพียงชิ้นเดียวที่มีในหัวข้อนี้
• การตีพิมพ์ผลงานที่เป็นบทความทางวิชาการกว่า 150 เรื่อง และหนังสือ 20 เล่ม เกี่ยวกับทฤษฎีและการนำการวิจัยเกี่ยวกับจิตสำนึกสมัยใหม่ไปใช้ในทางจิตเวช จิตวิทยา และจิตบำบัด
• การสร้างแผนที่ทางจิต (Cartography of Psyche) แบบใหม่ขึ้น ซึ่งแบ่งจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับคือ
1.ระดับของจิตในชีวิตทั่วไปของบุคคล (Biographical-recollective level) และจิตไร้สำนึกแนวฟรอยด์ (the Freudian individual unconscious)
2. ระดับของจิตในช่วงขณะแห่งการเกิด (Perinatal level) ซึ่งเกี่ยวข้องกับบาดแผลทางจิตใจในขณะที่เกิด (trauma of birth)
3. ระดับของจิตที่พ้นไปจากตัวตน (Transpersonal level) ซึ่งเกี่ยวข้องกับแง่มุมที่หลากหลาย อาทิ the ancestral, racial, collective, phylogenetic, karmic, and archetypal matrices
• การพัฒนาการบำบัดด้วยการหายใจแบบโฮโลโทรปิกขึ้น ร่วมกับคริสตินา ภรรยาของเขา และโปรแกรมฝึกอบรมที่ชื่อ The Grof Transpersonal Training ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับฝึกอบรมผู้เอื้ออำนวย (facilitator) การหายใจแบบโฮโลโทรปิก ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 1000 คนในหลายพื้นที่ทั่วโลก
• การสร้างแนวคิดพื้นฐานของจิตวิทยาเหนือตนร่วมกันกับอับราฮัม มาสโลว์, แอนโทนี่ ซูติซ และคนอื่นๆ แนวคิดนี้ได้สำรวจประสบการณ์ของมนุษย์ในทุกๆ มิติ และพยายามรวมมิติทางจิตวิทยากับทัศนะแม่บทใหม่ของวิทยาศาสตร์ (new paradigm science) เข้าด้วยกัน กรอฟได้รับรางวัลพิเศษในฐานะผู้สร้างสรรค์และพัฒนาแวดวงจิตวิทยาเหนือตน จากสมาคมจิตวิทยาเหนือตน เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีของสมาคม ปัจจุบัน แนวคิดจิตวิทยาเหนือตนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจากที่เริ่มต้นขึ้นตอนปลายทศวรรษ 1960 ทุกวันนี้ มหาวิทยาลัยหลายแห่งในอเมริกามีการสอนแนวคิดนี้ มีวารสารพิเศษ 2 ฉบับ และมีการประชุมวิชาการของสมาคม นอกจากนี้ สมาคมจิตวิทยาเหนือตนได้เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก
• การพยายามสร้างพื้นฐานทฤษฎีที่มั่นคงของจิตวิทยาเหนือตน จากการสำรวจงานเขียนของเขาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยาเหนือตนกับความก้าวหน้าของทัศนะแม่บทใหม่ของวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย
• ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานสมาคมจิตวิทยาเหนือตนนานาชาติ เขากับคริสตินาร่วมกันจัดการประชุมใหญ่นานาชาติของสมาคมขึ้น 9 ครั้ง
• การเป็นที่ปรึกษาพิเศษภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เรื่อง Brainstorm จากการเชิญของบริษัท Metro’Goldwyn/Meyer และภาพยนตร์เรื่อง Millenium ปัจจุบัน กรอฟสนใจที่จะกลับไปทำโครงการที่ใช้เทคนิคพิเศษในปัจจุบันแสดงภาพของสภาวะเหนือธรรมดาของจิตสำนึกในบริบทของภาพยนตร์เกี่ยวกับสภาวะเหนือตน
ประวัติโดยสังเขปของคาร์ล รอเจอร์ส (Carl Rogers)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้พัฒนาวิธีการจิตบำบัดที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient-centered) และไม่ชี้นำ (nondirective) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “จิตวิทยามนุษยนิยม” (humanistic psychology)
คาร์ล รอเจอร์สเกิดที่เมืองโอ๊คพาร์ค รัฐอิลลินอยส์ ในครอบครัวที่เคร่งศาสนาคริสต์. รอเจอร์สเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (University of Wisconsin) หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาเข้าเรียนที่ Union Theological Seminary เพื่อเป็นบาทหลวง พร้อมๆ กับเรียนปริญญาโทและเอกในด้านการศึกษาและจิตวิทยาคลินิกที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University)*. ระหว่างปี 1928 ถึง 1939 รอเจอร์สทำงานเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่สมาคมป้องกันการทารุณเด็ก (Society for Cruelty to Children) ในเมืองโรเชสเตอร์. ในปี 1940 เขาถูกเชิญไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ (Ohio State University). ในช่วงนั้น เขาค่อยๆ พัฒนาระบบการบำบัดที่ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (client-centered therapy)** ขึ้น ซึ่งปรากฏเป็นรูปเป็นร่างในหนังสือเล่มที่สองของเขาที่ชื่อ “การปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด” (Counseling and Psychotherapy) ตีพิมพ์ในปี 1942.
รอเจอร์สเชื่อว่าสภาวะทางจิตที่แท้จริงของผู้ป่วยทุกคน (เขาเรียกผู้ป่วยว่า “ผู้รับบริการ” [client]) สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้โดยสภาพแวดล้อมในการบำบัดที่เหมาะสม. ส่วนสำคัญของสภาพแวดล้อมดังกล่าวก็คือ สัมพันธภาพส่วนบุคคลที่ใกล้ชิดระหว่างผู้รับบริการกับผู้บำบัด. การที่รอเจอร์สใช้คำว่า “ผู้รับบริการ” แทนที่คำว่า “ผู้ป่วย” แสดงให้เห็นถึงการปฏิเสธสัมพันธภาพที่เน้นอำนาจเบ็ดเสร็จระหว่างผู้บำบัดกับผู้รับบริการตามแบบแผนดั้งเดิม โดยเขามองว่าผู้บำบัดและผู้รับบริการมีความเท่าเทียมกัน. ผู้รับบริการเป็นผู้กำหนดทิศทางทั่วๆ ไปของการบำบัด ในขณะที่ผู้บำบัดเป็นผู้เพิ่มการเข้าใจตนเองอย่างตระหนักรู้ (insightful self-understanding) ของผู้รับบริการผ่านทางการถามคำถามอย่างไม่เป็นทางการที่ช่วยทำให้กระจ่างชัด. ลักษณะเด่นของวิธีการของรอเจอร์สคือ การสะท้อน (reflecting) คำพูดของผู้รับบริการโดยผู้บำบัด ซึ่งช่วยถ่ายทอดสำนึกของความรับผิดชอบ (sense of respect) ให้เกิดขึ้น ด้วยความเชื่อมั่นในความสามารถของผู้รับบริการในการจัดการกับปัญหาของพวกเขา. แนวคิดในการร่วมมือกันระหว่างผู้รับบริการกับผู้บำบัดมีที่มาจากวิธีการของคาร์ล ยุง (Carl Jung). นอกจากนี้ ในช่วงแรกเริ่มของการพัฒนาระบบของรอเจอร์สยังได้รับอิทธิพลจากออตโต แรนค์ (Otto Rank) อีกด้วย.
การบำบัดแนวรอเจอร์เป็นผลสืบเนื่องจากความเชื่อของเขาที่ว่าองค์ประกอบพื้นฐานในธรรมชาติของมนุษย์คือแรงผลักดันที่มุ่งไปสู่การบรรลุศักยภาพในตนเองอย่างสมบูรณ์ แนวคิดดังกล่าวมีพื้นฐานจากมุมมองเชิงบวกที่มีต่อมนุษยชาติซึ่งตรงข้ามกับมุมมองของกลุ่มการวิเคราะห์จิต (psychoanalytic) ที่มองว่ามนุษย์ถูกขับเคลื่อนโดยแรงกระตุ้นที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสังคมซึ่งหยุดยั้งได้ยากและบ่อยครั้งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก. ในมุมมองของรอเจอร์ส ภารกิจหลักของการบำบัดคือการขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางผู้รับบริการในการบรรลุความจริงแท้ในตนเอง (self-actualization). นอกจากนี้ อีกสิ่งหนึ่งของการบำบัดแนวรอเจอร์ที่แตกต่างจากจิตวิเคราะห์ (psychoanalysis) ก็คือการมุ่งเน้นที่ความรู้สึกในปัจจุบันและทัศนคติของผู้รับบริการมากกว่าประสบการณ์ในวัยเด็ก.
หลังจากย้ายออกจากรัฐโอไฮโอในปี 1945 รอเจอร์สไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) และมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน. ในปี 1947 และ 1956 รอเจอร์สได้รับตำแหน่งประธานของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association). ความนิยมในวิธีการของเขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รอเจอร์ได้รับการกล่าวถึงอย่างมาก. การบำบัดแบบรอเจอร์สถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในทศวรรษ 1950 และ 1960 แนวคิดของเขาซึ่งต่อต้านอำนาจเบ็ดเสร็จในการบำบัดและมุ่งเน้นที่การยินยอมพร้อมใจเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย. รอเจอร์สตีพิมพ์หนังสือ “การบำบัดแบบยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง: การใช้งานในปัจจุบัน การนำไปใช้ และทฤษฎี” (Client-Centered Therapy: Its Current Practice, Implication, and Theory) ในปี 1951 และผลิตผลงานเป็นจำนวนมากในทศวรรษนั้น. ในปี 1956 สมาคมจิตวิทยาอเมริกันได้มอบรางวัล Distinguished Scientific Contribution Award ให้กับเขา. ในทศวรรษ 1960 รอเจอร์สได้สนใจกระแสแนวคิดที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ (human potential movement)*** (ดูรายละเอียดเพิ่มด้านล่าง – ผู้แปล) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นที่รัฐฟลอริดา โดยเขาได้นำหลักการบางอย่างของมันมาใช้ ซึ่งประกอบด้วยหลักการที่มุ่งเน้นความจริงใจและเปิดเผยในการแสดงความรู้สึกและใช้การบำบัดแบบกลุ่ม (group therapy). ในปี 1964 เขาและภรรยาย้ายไปอยู่ที่เมืองลา จอลลา รัฐแคลิฟลอเนีย เขายังคงเขียนหนังสือและบรรยายอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้ร่วมงานรับเชิญ (resident fellow) ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรมของตะวันตก (Western Behavioral Science Institution). หนังสือ On Becoming a Person ที่ตีพิมพ์ในปี 1961 กลายเป็นหนังสือที่แพร่หลายที่สุดของเขา. ในช่วง 10 ปีสุดท้ายของชีวิต รอเจอร์สให้ความสนใจอย่างลึกซึ้งกับการปฏิรูปการศึกษา. จากหลักการสำคัญของวิธีการบำบัดของเขา เขาเชื่อว่าครู (เช่นเดียวกับผู้บำบัด) ควรเป็นผู้เอื้ออำนวยการเรียนรู้ (facilitator) มากกว่าที่จะเป็นผู้ตัดสินหรือเป็นเพียงผู้ถ่ายทอดข้อเท็จจริง.
หนังสือเล่มอื่นๆ ของรอเจอร์ส ได้แก่ Psychotherapy and Personality Change (1954) Freedom to Learn: A View of What Education Might Become (1969) Carl Rogers on Encounter Group (1970) Carl Rogers on Personal Power (1977) และ A Way of Being (1980)
แปลจาก The Gale Encyclopedia of Psychology หน้า 549 – 550
* เดิมทีรอเจอร์สเข้าเรียนปริญญาตรีสาขาการเกษตร แต่้ต่อมาเปลี่ยนสาขาเป็นประวัติศาสตร์ หลังจากจบปริญญาตรี ในช่วงแรกรอเจอร์สเข้าเรียนที่ Union Theological Seminary เป็นหลักและมาเทคคอร์สจิตวิทยาและการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งโคลัมเบีย แต่สองปีหลังจากนั้นเข้าก็ย้ายมาเรียนที่นี่แบบเต็มเวลาจนกระทั่งจบปริญญาโทและเอก
** client-centered therapy – ดูเพิ่มเติมที่ การบำบัดแบบยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
*** human potential movement – กระแสแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือคนปกติให้บรรลุศักยภาพที่สมบูรณ์ของตนเองผ่านทางการผสมผสานวิธีการเชิงบำบัดและวิธีการปฎิบัติที่คัดสรรแล้ว คุณค่าของกระแสแนวคิดนี้ประกอบด้วยการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น (tolerance) ซึ่งเป็นการมองโลกในแง่ดี (optimism) ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ การมุ่งเน้นที่การสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างซื่อตรง การให้ความสำคัญกับการดำเนินชีวิตอย่างเต็มที่กับ “ที่นี่และปัจจุบัน” (here and now) และจิตวิญญาณแห่งการคิดค้นทดลองและการเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ
ประวัติโดยสังเขปของคาร์ล ยุง (Carl Jung)
จิตแพทย์ชาวสวิสและผู้ก่อตั้งจิตวิทยาการวิเคราะห์ (analytic psychology)
คาร์ล ยุง เกิดที่สวิสเซอร์แลนด์ เป็นบุตรของบาทหลวงของกลุ่มปฏิรูปสวิสเซอร์แลนด์ (Swiss Reform) เขาเข้าศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบาเซิล ได้รับปริญญาในปี 1900 และตัดสินใจเป็นจิตแพทย์ ยุงทำงานที่คลินิกจิตเวชของมหาวิทยาลัยซูริค โดยเป็นผู้ช่วยของเออเกน บลอยเลอร์* (Eugen Bleuler) (1857 – 1939) จิตแพทย์ผู้มีกิตติศัพท์ในงานด้านโรคจิตเภท (schizophrenia) นอกจากนี้ ยุงยังเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อศึกษากับปิแอร์ เจเนต์ (Pierre Jenet) (1859 – 1947) จิตแพทย์ผู้มีชื่อเสียงอีกด้วย ในปี 1905 เขาได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยซูริค และกลายเป็นแพทย์อาวุโสที่คลินิกของที่นั่น แต่ในที่สุดนิสัยรักความเป็นส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้นก็ผลักดันให้เขาลาออกจาก มหาวิทยาลัย การศึกษาเกี่ยวกับโรคจิตเภทชิ้นแรกๆ ของยุงที่ได้รับการตีพิมพ์ทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้นมา นอกจากนี้ เขายังเป็นที่รู้จักในฐานะที่คิดค้นแบบทดสอบการเชื่อมโยงคำศัพท์ (word association test) ขึ้นอีกด้วย
ยุงได้อ่านหนังสือ The Interpretation of Dreams ของซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) หลังจากที่มันถูกตีพิมพ์ออกมาไม่นานในปี 1900 และเริ่มติดต่อกับฟรอยด์ผ่านทางจดหมาย ในปี 1907 ทั้งสองได้พบกันและเริ่มติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเป็นเวลามากกว่า 6 ปีหลังจากนั้น ในปี 1909 ทั้งคู่เดินทางไปอเมริกาเพื่อเข้าร่วมงานครบรอบ 20 ปีของมหาวิทยาลัยคลาร์ก ที่เมืองวอร์เชสเตอร์ รัฐเมซซาชูเซทส์ โดยการเชิญของจี. แสตนลี่ ฮอลล์ (G. Stanley Hall) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ยุงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสนทนาที่พบกันที่บ้านของฟรอยด์ และมีคนอื่น ได้แก่ อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) และออตโต แรนค์ (Otto Rank) เข้าร่วมด้วย กลุ่มสนทนานี้พัฒนาไปเป็นสมาคมวิเคราะห์จิตแห่งเวียนนา (Vienna Psychoanalytic Society) และในปี 1911 ยุงก็ได้เป็นประธานคนแรกของสมาคมจิตวิเคราะห์นานาชาติ อย่างไรก็ตาม ยุงเริ่มพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิเคราะห์ (psychoanalysis) และธรรมชาติของจิตไร้สำนึก (unconscious) ที่ต่างจากฟรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยืนกรานของฟรอยด์ว่าด้วยเรื่องเพศเป็นพื้นฐานของอาการ ทางประสาท (neurosis) หลังจากหนังสือ Psychology of the Unconscious ของยุงได้รับการตีพิมพ์ในปี 1912 ความไม่ลงรอยกันระหว่างทั้งคู่ก็เริ่มต้นขึ้น และความสัมพันธ์ของพวกเขาก็สิ้นสุดลงในปี 1914 ในช่วงเดียวกันนี้ ยุงได้เผชิญกับช่วงเวลาแห่งความสับสนในชีวิต และได้ทำการวิเคราะห์ตนเองอย่างละเอียดจากความฝัน (เช่นเดียวกับที่ฟรอยด์ได้เผชิญกับวิกฤติการณ์ที่คล้ายคลึงกันในชีวิตของ เขา) นอกจากนี้ ยุงยังทำการสำรวจเทพนิยายและสัญลักษณ์อีกด้วย ความสนใจเรื่องนี้ทำให้เขาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยการเดินทางไปทวีปแอฟริกาและฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา ในช่วงทศวรรษ 1920 ใน เพื่อศึกษาเรื่องเล่าปรัมปราและศาสนาของวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ของตะวันตก
ยุงพัฒนาระบบของจิตวิเคราะห์ของตนเองขึ้นมา เขาเรียกมันว่า “จิตวิทยาการวิเคราะห์” (psychoanalytic) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของเขาในเรื่องการใช้สัญลักษณ์ (symbolism) การศึกษาตำนานโบราณ (mythology) และจิตวิญญาณ (spirituality) แนวคิดหลักของจิตวิทยาการวิเคราะห์คือบุคลิกภาพของปัจเจกบุคคล หรือไซคี (psyche) ซึ่งทำหน้าที่ใน 3 ระดับ โดย “อีโก” (ego) ทำงานในระดับจิตสำนึก (conscious) ส่วน “จิตไร้สำนึกส่วนบุคคล” (personal unconscious) คือที่รวบรวมประสบการณ์ที่ถูกเก็บกดไว้ ถูกลืม หรือถูกดึงออกมาจากจิตสำนึกในทางใดทางหนึ่ง นอกจากนี้ มันยังเป็นที่อยู่ของปมต่างๆ ซึ่งเป็นกลุ่มของความรู้สึก ความคิด ความทรงจำ ที่ปกติแล้วจะเกี่ยวข้องกับคนสำคัญ (เช่น พ่อแม่) หรือของสำคัญ (เช่น เงิน) ส่วนในระดับที่ลึกที่สุดและมีพลังที่สุด ยุงจัดไว้ให้เป็นที่อยู่ของการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์คือ “จิตไร้สำนึกร่วม” (collective unconscious) ซึ่งรวมเอาประสบการณ์ของคนรุ่นก่อน หรือแม้กระทั่งบรรพบุรุษที่เป็นสัตว์เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นการรักษาร่องรอยของการพัฒนาในเชิงวิวัฒนาการของมนุษยชาติตลอดช่วง เวลาที่ผ่านมา จิตไร้สำนึกร่วมเป็นที่เก็บรวมรวมภาพและสัญลักษณ์ที่ใช้ร่วมกัน เรียกว่า “แม่แบบ” (Achetypes) มันเกิดขึ้นในความฝัน เรื่องเล่าปรัมปรา และรูปแบบอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นแนวคิดที่เป็นสามัญ เช่น การเกิด การกลับมาเกิดใหม่ ความตาย วีรบุรุษ แผ่นดินแม่ และปิศาจ. รูปแบบของแม่แบบแตกต่างจากระบบภายในบุคลิกภาพ ซึ่งประกอบด้วย “เพอโซนา” (persona) หรือภาพที่ปรากฏแก่สาธารณะ “อะนิมา” (anima) และ “อะนิมัส” (animus) ซึ่งเป็นลักษณะของความเป็นเพศ “ชาโดว์” หรือสัญชาติญาณของความเป็นสัตว์ และ “ตัวตน” (self) ซึ่งแสวงหาความเป็นหนึ่งเดียว (unity) และความสมบูรณ์ (wholeness) ในมุมมองของยุง การวิเคราะห์ทั้งจิตไร้สำนึกส่วนบุคคลและจิตไร้สำนึกร่วมอย่างละเอียดเป็น สิ่งจำเป็นในการทำความเข้าใจบุคลิกภาพของปัจเจกบุคคลอย่างถ่องแท้
บางที ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของยุงอาจจะเป็นทฤษฎีที่ว่าปัจเจกบุคคลสามารถถูกจำแนกตามประเภทของทัศนคติทั่วๆ ไป คือ อินโทรเวิร์ต (introverted – การมองเข้าไปภายใน) กับเอ๊กซ์โทรเวิร์ต (extroverted – การมองออกไปภายนอก) ความสมบูรณ์ของจิต (psychic wholeness) หรือความเป็นปัจเจกบุคคล (individuation) ที่มนุษย์แสวงหาขึ้นอยู่กับการประนีประนอมความโน้มเอียงของรูปแบบการทำงานของจิตใจทั้ง 4 ด้าน ซึ่งแบ่งออกเป็นคู่ตรงข้าม คู่แรกคือ การสัมผัส (sensing) กับ การหยั่งรู้ (intuiting) ซึ่งเป็นวิธีการได้มาซึ่งความรู้ และคู่ที่สองคือ การคิด (thinking) กับ การรู้สึก (feeling) ซึ่งเป็นวิธีการประเมินค่าสิ่งต่างๆ หากลักษณะของบุคลิกภาพด้านใดมีอิทธิพลในจิตสำนึก ด้านตรงข้ามจะขยายตัวมากขึ้นในจิตไร้สำนึก คู่ตรงข้ามเหล่านี้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในการทดสอบเกี่ยวกับอาชีพรวมทั้งการทดสอบชนิดอื่นๆ
ในปี 1932 – 1942 ยุงทำงานเป็นศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคกลางแห่งซูริค แม้ว่าภาวะสุขภาพทำให้เขาต้องลาออก แต่เขาก็เขียนงานเกี่ยวกับจิตวิทยาการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องในช่วงชีวิตที่ว่างจากการทำงาน และสนับสนุนการบรรลุความสมบูรณ์ทางจิตผ่านทางการเปลี่ยนผ่านของบุคคล (personal transformation) และการค้นพบตนเอง (self-discovering) งานของยุงมีอิทธิพลในสาขาอื่นๆ ด้วยเช่นกัน นอกเหนือจากจิตวิทยา งานเขียนของเขาประกอบด้วยงานด้านศาสนา ศิลปะ วรรณกรรม และเรื่องลี้ลับ ได้แก่ การเล่นแร่แปรธาตุ ดาราศาสตร์ โยคะ การทำนายอนาคต และจานบิน หนังสือ Memories, Dreams, Reflections อัตชีวประวัติของยุงได้รับการตีพิมพ์ในปี 1961 ซึ่งเป็นปีที่เขาเสียชีวิต สถาบันจิตวิทยาการวิเคราะห์ก่อตั้งขึ้นทั่วโลก แต่ศูนย์นานาชาติของสถาบัน ซี. จี. ยุง ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1948 ยังคงตั้งอยู่ที่เมืองซูริค ยุงเป็นนักเขียนที่มีผลงานมากมาย งานของเขาที่รวบรวมไว้มี 19 หมวดด้วยกัน แต่งานจำนวนมากไม่ได้ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษจนกระทั่งหลังจากปี 1965 ก่อนหน้าที่จะเสียชีวิตไม่นาน ยุงได้เขียนหนังสือที่ชื่อ Human and His Symbols ขึ้น เป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงในการแนะนำแนวคิดของเขาในเรื่องสัญลักษณ์และความฝัน
ประวัติโดยสังเขปของอัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler)
จิตแพทย์ผู้เป็นที่รู้จักจากทฤษฎีจิตวิทยาปัจเจกบุคคล (Individual Psychology) และการบุกเบิกงานด้านเด็กและครอบครัว
อัลเฟรด แอดเลอร์เกิดที่ชานเมืองของกรุงเวียนนาในปี 1870*. หลังจากสำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งเวียนนา (University of Vienna) ด้านการแพทย์ในปี 1975 เขาเริ่มต้นทำงานด้านจักษุวิทยาแต่ต่อมาเปลี่ยนมาทำงานด้านจิตเวชศาสตร์. ในปี 1902 แอดเลอร์ได้เข้าร่วมกลุ่มสนทนาซึ่งต่อมากลายมาเป็น “สมาคมวิเคราะห์จิตแห่งเวียนนา” (Vienna Psychoanalytic Society). ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม. ในที่สุดแอดเลอร์ได้กลายเป็นประธานและเป็นบรรณาธิการของวารสารของกลุ่ม. อย่างไรก็ตาม ในปี 1907 แอดเลอร์เริ่มไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของฟรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเน้นหนักในเรื่องบทบาทของเรื่องเพศที่มีต่อการก่อตัวของบุคลิกภาพ ทำให้เขาเกิดความบาดหมางกับกลุ่มผู้ที่นิยมฟรอยด์.
ในปี 1911 แอดเลอร์และผู้ติดตามได้ลาออกจากสมาคมวิเคราะห์จิตและตั้งกลุ่มของพวกเขาเองขึ้นมา ชื่อว่า “สมาคมจิตวิทยาปัจเจกบุคคล” (Society of Individual Psychology) และพัฒนาระบบจิตวิทยาปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นแนวทางบำบัดรักษาที่เป็นองค์รวมและให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์. จิตวิทยาแบบแอดเลอร์มองปัจเจกบุคคลโดยให้ความสำคัญกับสังคมมากกว่าเรื่องเพศ และมุ่งเน้นที่การเลือก (choice) และการให้คุณค่า (value) มากกว่าจิตวิทยาแบบฟรอยด์. แอดเลอร์มองว่าปัจเจกบุคคลมุ่งแสวงหาความสมบูรณ์แบบและจัดการกับความรู้สึกด้อย (inferiority) (ต่อมาแนวคิดนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “ปมด้อย” [inferiority complex]). หลังจากได้ทำงานในโรงพยาบาลทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 แอดเลอร์ได้เกิดความสนใจในจิตวิทยาเด็ก (child psychology) ขึ้น. เขาก่อตั้งเครือข่ายคลินิกให้คำแนะนำเด็กของชุมชนขึ้นในระบบโรงเรียนของกรุงเวียนนา นำเสนอสิ่งที่อาจเป็นไปได้ว่าเป็นการให้คำปรึกษาครอบครัว (family counseling) ในยุคแรกเริ่ม. มีหน่วยบริการ 28 แห่งดำเนินงานในด้านนี้ จนกระทั่งนาซีมีคำสั่งให้ปิดในปี 1934. แต่กลุ่มของผู้ที่ทำการศึกษาครอบครัวโดยใช้แนวคิดของแอดเลอร์ยังคงพบปะกันทั้งในอเมริกาและแคนาดา.
ในปี 1926 แอดเลอร์ใช้เวลาอยู่ที่อเมริกาและกรุงเวียนนา. เขาถูกเชิญไปเป็นผู้บรรยายรับเชิญที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในเมืองนิวยอร์ค ในปี 1927. ในปี 1932 เขาเป็นผู้บรรยายที่วิทยาลัยการแพทย์ลองไอร์แลนด์ (Long Ireland Medial College) และย้ายไปอยู่ที่อเมริกาพร้อมกับภรรยา. แอดเลอร์เสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี 1937 ที่เมืองอเบอร์ดีน ประเทศสก็อตแลนด์ ในขณะเดินสายบรรยาย. มีองค์กรทางวิชาชีพที่ใช้แนวคิดของแอดเลอร์มากกว่า 100 แห่ง และมีสถาบันฝึกอบรมอีก 34 แห่ง ในอเมริกา แคนาดา และทวีปยุโรป.
จิตวิทยา
จิตวิทยา(อังกฤษ: psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
บทนำ
จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำข้อมูลความรู้มาเสนอ อธิบาย และเพื่อควบคุมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ จิตวิทยามุ่งศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการของร่างกายกับจิตใจ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระเบียบแบบแผน เพราะร่างกายและจิตใจมักมีการแสดงออกร่วมกัน อีกทั้งยังแสดงออกในแนวทางที่สามารถทำนายได้
[แก้]ภาษาทางจิตวิทยา
จิตวิทยาก็มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษาเช่นเดียวกับศาสตร์อื่น ๆ คำศัพท์บางส่วนประกอบด้วยคำศัพท์ที่คนทั่วไปใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน คำศัพท์บางคำก็เป็นคำศัพท์ทางวิชาการที่คุ้นเคย ถึงแม้ศัพท์บางคำจะเป็นที่เข้าใจ และคุ้นเคยของคนทั่วไป แต่นักจิตวิทยาก็ได้ให้ความหมายเฉพาะเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการศึกษาจิตวิทยา
ปัญหาและการเลือกปัญหาของนักจิตวิทยา
เหมือนกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป กระบวนการทางจิตวิทยา เริ่มจากการเลือกปัญหาที่สนใจ แล้วจึง สังเกต ศึกษา หรือทดลอง อย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา แล้วทำการรวบรวม เรียบเรียง และตีความข้อเท็จจริงที่ได้ หากนักจิตวิทยาพบแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่กำหนด และสามารถนำมาสัมพันธ์ เกี่ยวข้องเป็นคำตอบของคำถามกว้าง ๆ ได้ นักจิตวิทยาก็จะสนใจ และลงมือศึกษาทันที แต่บางครั้งปัญหาก็เกิดขึ้นจากการสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว
นักจิตวิทยาได้แบ่งความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาทางจิตวิทยาออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มแรกเห็นว่า การเลือกปัญหานั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้าของนักจิตวิทยา กลุ่มที่สองนั้นกลับเห็นว่า การเลือกปัญหาและการตั้งคำถามควรจะเป็นไปตามทฤษฎี และกลุ่มหลังเห็นว่าความอยากรู้อยากเห็นที่เกิดขึ้นเอง เป็นแรงจูงใจที่ดีที่สุดสำหรับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อเรามองโดยรวมแล้ว จะเห็นว่าทั้งความอยากรู้อยากเห็นและทฤษฎี ต่างก็มีส่วนช่วยในการสังเกต อธิบาย และตีความข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพราะทฤษฎีนั้นมีบทบาทที่ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่สังเกต และชี้ให้เห็นคำถามใหม่ ๆ อีกทั้งยังชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ของข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นทฤษฎีจึงมีประโยชน์และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับทั่วไปและทั่วโลกก็ต่างกันยอรับ
ทฤษฎีสำหรับผู้ป่วยทางด้านจิตวิทยา
ในทางจิตวิทยานั้นมีทฤษฎีสำหรับผู้ป่วยทางด้านจิตวิทยาอยู่มากมาย หลักนั้นมี ทฤษฎีความสับสน คือ ผู้ป่วยนั้นจะเกิดความสับสนและแปรปรวนทางด้านอารมณ์ เกิดจากความไม่แน่นอนของจิต ซึ่งส่วนมากอาการที่แสดงออกมักจะเป็นการทำสิ่งที่ไม่ค่อยปกติ กังวน ไม่แน่นอน และอื่นๆ ทฤษฎีการปฏิเสธ คือ การที่ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตใจซึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางบ้าน, ปัญหาทางด้านสังคม ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะโยนเอาปัญหาที่ตัวเองมีอยู่ให้กับผู้อื่น เนื่องจากการที่ไม่สามารถยอมรับปัญหาเหล่านั้นได้ โดยมากแล้วปัญหาเหล่านี้มักจะหายในระยะเวลาไม่นานนัก แต่หากยังมีอยู่ควรพบจิตแพทย์--ดร.แอล.ดี.ชลิปป
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
เหมือนกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป วิธีการทางจิตวิทยาประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ ขั้นการสังเกตองค์ประกอบหรือตัวแปรที่สำคัญ ๆ อย่างมีระบบ และขั้นการรวบรวมและตีความข้อมูลที่ได้มา ซึ่งการดำเนินการสังเกตอย่างมีระบบ คือ ความพยายามที่จะกำจัดอิทธิพลของอคติหรือความลำเอียงของผู้สังเกต และสามารถรับรองได้ว่า การสังเกตนั้นสามารถกระทำซ้ำได้
วิธีการสังเกตอย่างมีระบบนั้น มี 2 วิธี ได้แก่ วิธีการทดลอง (experimental method) โดยสร้างสถานการณ์ ขึ้นเพื่อสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดตามมา และวิธีการหาความสัมพันธ์ (correlation method) โดยการสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
วิธีการทดลอง
ผู้สังเกตจะถูกเรียกว่าผู้ทดลองที่จะสร้างสภาวะหรือตัวแปรขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์หรือผลกระทบต่อ ตัวแปรอื่น ๆ อาจเป็นการเปรียบเทียบตัวแปรระหว่างกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มหรือมากกว่านั้น แล้วรายงานผลการทดลอง หรือผลจากการรวบรวมและตีความหมายของการเปรียบเทียบที่ได้จากการทดลอง วิธีการนี้นิยมกระทำในห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติการ เพราะสามารถควบคุมตัวแปรหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ หรือให้เหลือน้อยที่สุด อีกทั้งการสังเกตก็ สามารถกระทำได้ง่ายและมีความถูกต้องแม่นยำ
ตัวแปรที่ใช้ในการทดลองแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตัวแปรอิสระ ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่ถูกกำหนดขึ้น และ ตัวแปรตาม ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นผลจากการกระทำกับตัวแปรอิสระ
หลังจากได้ทราบผลจากการทดลองแล้ว ผู้ทดลองต้องทำการสรุปแล้วรายงานผลการทดลองให้ผู้อื่นทราบ เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำผลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ หรือทำการศึกษาต่อยอดความรู้ออกไป
วิธีการหาความสัมพันธ์
วิธีการหาความสัมพันธ์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป โดยที่ไม่ได้เจาะจงว่าตัวแปรใดมีอิทธิพลเหนือตัวแปรใด ค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (coefficient correlation) ซึ่งจะมีค่าระหว่าง -1.00 ถึง 1.00
วิธีการหาความสัมพันธ์ มีดังต่อไปนี้
วิธีวัดทางจิตวิทยา (Psychometric techniques) ใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาและแบบสอบถาม เพื่อวัด ความแตกต่างของลักษณะต่างๆของบุคคล หรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยทั่วไปแบบทดสอบที่ใช้ใน งานวิจัยด้านหาความสัมพันธ์สามารถทดสอบตัวแปรอิสระได้เป็นรายๆไป ดังนั้น วิธีวัดทางจิตวิทยานี้จึงแสดงให้เห็น ความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว ด้วยผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถามนั่นเอง
การสังเกตในสภาพธรรมชาติ (Naturalistic Observation) การสังเกตในสภาพธรรมชาติจะให้ข้อ เท็จจริงได้มากกว่า เพราะเป็นการสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต ผู้ถูกสังเกตจะต้องไม่รู้ตัวว่าถูกสังเกต เพื่อให้พฤติกรรม ต่างๆเป็นไปตามธรรมชาติโดยแท้จริง แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการสังเกตระยะหนึ่ง ซึ่งบางครั้งอาจค่อนข้างยาวนาน
การสังเกตด้วยวิธีการทางคลีนิค (Clinical Method of Observation) เป็นการศึกษาประวัติรายบุคคล (กรณีศึกษา) ซึ่งจะช่วยให้นักจิตวิทยาเข้าใจประวัติความเป็นมา พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู รวมไปถึงพื้นฐานของการ เกิดพฤติกรรม เพื่อใช้ประกอบการบำบัดรักษาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
วิธีการสังเกตดังกล่าวอาจเกิดผิดพลาดด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ ผู้ศึกษาจึงต้องมีการวางแผนและได้รับการฝึกฝนอย่างดี โดยเฉพาะการสังเกตวิธีทางคลีนิค ที่ไม่สามารถกระทำซ้ำได้
ทั้งวิธีการทดลองและวิธีการหาความสัมพันธ์ต่างก็มีประโยชน์และความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี แต่หลายๆ ครั้งที่มีการผสมผสานทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน เพื่อการศึกษาที่ละเอียดหลายๆด้าน และเป็นประโยชน์ในทางจิตวิทยามากยิ่งขึ้น
โครงสร้างของจิตวิทยา
จิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ, รูปแบบต่างๆของพยาธิสภาพทางพฤติกรรม, จิตบำบัด, และจิตวิทยาชุมชน
เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่
การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่ ผู้วิจัยต้องเป็นผู้มีระเบียบแบบแผน มีจรรยาบรรณของนักวิจัย มีจริยธรรมและความเป็นกลางทางสังคม
การวิจัยประยุกต์ ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ผลจากการวิจัยในปัญหานี้สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ การวิจัยดังกล่าวต้องได้รับการวางแผนดำเนินการ ควบคุมวิธีการด้วยความระมัดระวัง การวิจัย บริสุทธิ์ก่อให้เกิดการวิจัยประยุกต์อย่างมีแบบแผน
การประยุกต์ใช้ เป็นการประยุกต์คำตอบที่ได้ ไปใช้ในสถานการณ์จริงๆ ในโลกซึ่งไม่มีการควบคุม สภาวะใดๆ นักจิตวิทยากลุ่มที่มีการประยุกต์ใช้มากที่สุด คือ นักจิตวิทยาคลินิก รองลงมาคือ นักจิตวิทยาการศึกษา
สถานที่ดำเนินงานทางจิตวิทยา นักจิตวิทยาสาขาต่างๆทำงานในสถานที่แตกต่างกัน บางสาขาทำวิจัยและสอนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย บาง สาขาทำงานในคลินิกและโรงพยาบาล, ศูนย์บริการให้คำแนะนำปรึกษาต่างๆในโรงเรียน, บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม, ศูนย์สุขภาพจิต ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ศูนย์พักฟื้นคนไข้ที่เพิ่งถูกส่งออกจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการประชาชน เป็นต้น
ความสัมพันธ์ของจิตวิทยากับศาสตร์อื่น
จิตวิทยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับวิชาจิตเวชศาสตร์ (อันเป็นส่วนหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ คือสาขาที่ว่าด้วยการรักษาจิตใจ) และกับศาสตร์ทางชีววิทยา ซึ่งได้แก่ สรีรวิทยา ประสาทวิทยาและชีวเคมี พฤติกรรม ของบุคคลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาจากบุคคลนั้นโดยตรงก่อน ทั้งทางด้านพันธุกรรม ระดับวุฒิภาวะ และสภาพการ เคลื่อนไหวของร่างกาย และปัจจุบันก็สัมพันธ์อย่างเด่นชัดกับมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา โดยมานุษยวิทยาศึกษาจุดกำเนิด ของมนุษย์ และการสืบทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี สิ่งแวดล้อมทางสังคม ส่วนด้านสังคมวิทยาจะเน้น ศึกษากลุ่มสังคมมากกว่าตัวบุคคล โดยศึกษาการปะทะสังสรรค์ของแต่ละบุคคลในกลุ่ม และศึกษาอิทธิพลของกลุ่มที่มีต่อ แต่ละบุคคล
จิตวิเคราะห์
จิตแพทย์ชาวออสเตรียเชื้อสายยิว คือ น.พ. ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้พัฒนาวิธีการบำบัดทางจิตเรียกว่าจิตวิเคราะห์ การศึกษาของฟรอยด์เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และแปลความหมายพฤติกรรมของคนไข้ของเขา การศึกษาของเขาส่วนมากเป็นการทำความเข้าใจจิตไร้สำนึก การเจ็บป่วยทางจิต และจิตพยาธิวิทยา ทฤษฎีของฟรอยด์เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่นำมาใช้อธิบายพัฒนาการทางพฤติกรรมของมนุษย์ และได้กลายเป็นทฤษฎีที่รู้จักและถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเรื่องที่เขาศึกษานั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ การเก็บกดอารมณ์ทางเพศ และจิตไร้สำนึก ซึ่งในช่วงเวลานั้นเรื่องเหล่านี้ถือเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคม แต่ฟรอยด์ก็สามารถทำให้การศึกษาของเขาเป็นประเด็นสำหรับการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสุภาพได้
ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา
จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้ การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ
ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกาย
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า “ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบ” โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา
การขยายตัวทางจิตวิทยา
ห้องปฏิบัติการทดลองทางจิตวิทยาห้องแรก ถูกสร้างขึ้นโดย Wilhelm Wundt ในปี ค.ศ. 1879 ที่เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมนี โดยมีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้น คือ กลุ่มโครงสร้างนิยม (Structuralism) การศึกษาจิตต้องศึกษาส่วนย่อย ๆ ที่ประกอบขึ้นมา ใช้วิธีการพื้นฐานทางจิตวิทยา คือ การสังเกตตนเอง หรือที่เรียกว่า การตรวจพินิจจิต (Introspection)
ในปี ค.ศ. 1890 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้นใหม่อีก คือ กลุ่มหน้าที่นิยม (Functionalism) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เห็นว่า จิตวิทยาควรเป็นการศึกษาวิธีการที่คนเราใช้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่บุคคลนั้นพอใจ และเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพของบุคคลนั้นด้วย นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสนใจ ความรู้สำนึก (consciousness) เพราะความรู้สำนึกเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลเลือกกระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ความรู้สำนึกเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกวิเคราะห์เป็นส่วนย่อยได้ นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมมากกว่าการศึกษาพฤติกรรมที่ปรากฏออกมา ให้เห็น
ในช่วงเวลาเดียวกัน ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ได้เสนอทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic theory) โดยมีวิธีการศึกษา จากการสังเกตและรวบรวมประวัติคนไข้ที่มารับการบำบัดรักษา ฟรอยด์เชื่อว่าความไร้สำนึกมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของพฤติกรรม และเน้นถึงความต้องการทางเพศตั้งแต่วัยเด็ก
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จอห์น บี วัตสัน ได้ก่อตั้ง กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioralism) โดยเห็นว่า การตรวจพินิจจิตเป็นวิธีการที่ไม่ดีพอ การศึกษาจิตวิทยาควรจะหลีกเลี่ยงการศึกษาจากความรู้สำนึก แล้วหันไปศึกษา พฤติกรรมที่มองเห็นได้ เพื่อให้สามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ได้ และเน้นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่ามี อิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่าพันธุกรรมอีกด้วย
ในช่วงเวลาเดียวกัน ประเทศเยอรมนีได้เกิดกลุ่มจิตวิทยาขึ้น ได้แก่ จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) แนวคิดของจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นว่า การทำงานของจิตเป็นการทำงานของส่วนรวม ดังนั้นจึงสนใจศึกษาส่วนรวมมากกว่าส่วน ย่อย แนวคิดนี้เริ่มมีบทบาทขึ้นเมื่อนักจิตวิทยาชาวอเมริกันเริ่มให้ความสนใจในปัญหาของการรับรู้ การคิดแก้ปัญหาและ บุคลิกภาพ จนนำไปสู่การเกิดขึ้นของกลุ่มจิตวิทยาการรู้การเข้าใจ (Cognitive psychology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกภายใน ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล และต่อจากนั้นมา จิตวิทยาก็เป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปและนิสิตนักศึกษามาก ขึ้นเรื่อยๆ
จิตวิทยาในประเทศไทย
หลายคนเชื่อว่าจิตวิทยาเกิดขึ้นในโลกเมื่อ 2,500 กว่าปีมาแล้ว นั่นคือ จิตวิทยาทางพระพุทธศาสนา นั่นเอง สำหรับในประเทศไทยนั้น เพิ่งมีหลักฐานปรากฏว่ามีการสอนวิชาจิตวิทยาในโรงเรียนฝึกหัดครูปฐม ในช่วงเวลาก่อน พ.ศ. 2473 เล็กน้อย และในปี พ.ศ. 2473 ก็มีการสอนจิตวิทยาเป็นวิชาหนึ่งใน 5 วิชา ของการสอนวิชาครุศาสตร์ในคณะ อักษรศาสตร์และครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 กระทรวงศึกษาธิการด้วยความช่วยเหลือขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้จัดตั้ง สถาบันระหว่างชาติสำหรับการค้นคว้าเรื่องเด็กขึ้นในวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่วิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็ก ต่อมามีการศึกษาที่กว้างขวางมากขึ้น ใน สถาบันอื่นก็ได้เปิดหลักสูตรวิชาจิตวิทยาในหลายสาขา ในปัจจุบันและในอนาคต มีการคาดหวังไว้ว่าจิตวิทยาในประเทศไทย จะเจริญก้าวหน้า ช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติต่อไป
บทนำ
จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำข้อมูลความรู้มาเสนอ อธิบาย และเพื่อควบคุมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ จิตวิทยามุ่งศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการของร่างกายกับจิตใจ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระเบียบแบบแผน เพราะร่างกายและจิตใจมักมีการแสดงออกร่วมกัน อีกทั้งยังแสดงออกในแนวทางที่สามารถทำนายได้
[แก้]ภาษาทางจิตวิทยา
จิตวิทยาก็มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษาเช่นเดียวกับศาสตร์อื่น ๆ คำศัพท์บางส่วนประกอบด้วยคำศัพท์ที่คนทั่วไปใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน คำศัพท์บางคำก็เป็นคำศัพท์ทางวิชาการที่คุ้นเคย ถึงแม้ศัพท์บางคำจะเป็นที่เข้าใจ และคุ้นเคยของคนทั่วไป แต่นักจิตวิทยาก็ได้ให้ความหมายเฉพาะเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการศึกษาจิตวิทยา
ปัญหาและการเลือกปัญหาของนักจิตวิทยา
เหมือนกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป กระบวนการทางจิตวิทยา เริ่มจากการเลือกปัญหาที่สนใจ แล้วจึง สังเกต ศึกษา หรือทดลอง อย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา แล้วทำการรวบรวม เรียบเรียง และตีความข้อเท็จจริงที่ได้ หากนักจิตวิทยาพบแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่กำหนด และสามารถนำมาสัมพันธ์ เกี่ยวข้องเป็นคำตอบของคำถามกว้าง ๆ ได้ นักจิตวิทยาก็จะสนใจ และลงมือศึกษาทันที แต่บางครั้งปัญหาก็เกิดขึ้นจากการสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว
นักจิตวิทยาได้แบ่งความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาทางจิตวิทยาออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มแรกเห็นว่า การเลือกปัญหานั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้าของนักจิตวิทยา กลุ่มที่สองนั้นกลับเห็นว่า การเลือกปัญหาและการตั้งคำถามควรจะเป็นไปตามทฤษฎี และกลุ่มหลังเห็นว่าความอยากรู้อยากเห็นที่เกิดขึ้นเอง เป็นแรงจูงใจที่ดีที่สุดสำหรับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อเรามองโดยรวมแล้ว จะเห็นว่าทั้งความอยากรู้อยากเห็นและทฤษฎี ต่างก็มีส่วนช่วยในการสังเกต อธิบาย และตีความข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพราะทฤษฎีนั้นมีบทบาทที่ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่สังเกต และชี้ให้เห็นคำถามใหม่ ๆ อีกทั้งยังชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ของข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นทฤษฎีจึงมีประโยชน์และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับทั่วไปและทั่วโลกก็ต่างกันยอรับ
ทฤษฎีสำหรับผู้ป่วยทางด้านจิตวิทยา
ในทางจิตวิทยานั้นมีทฤษฎีสำหรับผู้ป่วยทางด้านจิตวิทยาอยู่มากมาย หลักนั้นมี ทฤษฎีความสับสน คือ ผู้ป่วยนั้นจะเกิดความสับสนและแปรปรวนทางด้านอารมณ์ เกิดจากความไม่แน่นอนของจิต ซึ่งส่วนมากอาการที่แสดงออกมักจะเป็นการทำสิ่งที่ไม่ค่อยปกติ กังวน ไม่แน่นอน และอื่นๆ ทฤษฎีการปฏิเสธ คือ การที่ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตใจซึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางบ้าน, ปัญหาทางด้านสังคม ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะโยนเอาปัญหาที่ตัวเองมีอยู่ให้กับผู้อื่น เนื่องจากการที่ไม่สามารถยอมรับปัญหาเหล่านั้นได้ โดยมากแล้วปัญหาเหล่านี้มักจะหายในระยะเวลาไม่นานนัก แต่หากยังมีอยู่ควรพบจิตแพทย์--ดร.แอล.ดี.ชลิปป
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
เหมือนกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป วิธีการทางจิตวิทยาประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ ขั้นการสังเกตองค์ประกอบหรือตัวแปรที่สำคัญ ๆ อย่างมีระบบ และขั้นการรวบรวมและตีความข้อมูลที่ได้มา ซึ่งการดำเนินการสังเกตอย่างมีระบบ คือ ความพยายามที่จะกำจัดอิทธิพลของอคติหรือความลำเอียงของผู้สังเกต และสามารถรับรองได้ว่า การสังเกตนั้นสามารถกระทำซ้ำได้
วิธีการสังเกตอย่างมีระบบนั้น มี 2 วิธี ได้แก่ วิธีการทดลอง (experimental method) โดยสร้างสถานการณ์ ขึ้นเพื่อสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดตามมา และวิธีการหาความสัมพันธ์ (correlation method) โดยการสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
วิธีการทดลอง
ผู้สังเกตจะถูกเรียกว่าผู้ทดลองที่จะสร้างสภาวะหรือตัวแปรขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์หรือผลกระทบต่อ ตัวแปรอื่น ๆ อาจเป็นการเปรียบเทียบตัวแปรระหว่างกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มหรือมากกว่านั้น แล้วรายงานผลการทดลอง หรือผลจากการรวบรวมและตีความหมายของการเปรียบเทียบที่ได้จากการทดลอง วิธีการนี้นิยมกระทำในห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติการ เพราะสามารถควบคุมตัวแปรหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ หรือให้เหลือน้อยที่สุด อีกทั้งการสังเกตก็ สามารถกระทำได้ง่ายและมีความถูกต้องแม่นยำ
ตัวแปรที่ใช้ในการทดลองแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตัวแปรอิสระ ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่ถูกกำหนดขึ้น และ ตัวแปรตาม ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นผลจากการกระทำกับตัวแปรอิสระ
หลังจากได้ทราบผลจากการทดลองแล้ว ผู้ทดลองต้องทำการสรุปแล้วรายงานผลการทดลองให้ผู้อื่นทราบ เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำผลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ หรือทำการศึกษาต่อยอดความรู้ออกไป
วิธีการหาความสัมพันธ์
วิธีการหาความสัมพันธ์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป โดยที่ไม่ได้เจาะจงว่าตัวแปรใดมีอิทธิพลเหนือตัวแปรใด ค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (coefficient correlation) ซึ่งจะมีค่าระหว่าง -1.00 ถึง 1.00
วิธีการหาความสัมพันธ์ มีดังต่อไปนี้
วิธีวัดทางจิตวิทยา (Psychometric techniques) ใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาและแบบสอบถาม เพื่อวัด ความแตกต่างของลักษณะต่างๆของบุคคล หรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยทั่วไปแบบทดสอบที่ใช้ใน งานวิจัยด้านหาความสัมพันธ์สามารถทดสอบตัวแปรอิสระได้เป็นรายๆไป ดังนั้น วิธีวัดทางจิตวิทยานี้จึงแสดงให้เห็น ความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว ด้วยผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถามนั่นเอง
การสังเกตในสภาพธรรมชาติ (Naturalistic Observation) การสังเกตในสภาพธรรมชาติจะให้ข้อ เท็จจริงได้มากกว่า เพราะเป็นการสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต ผู้ถูกสังเกตจะต้องไม่รู้ตัวว่าถูกสังเกต เพื่อให้พฤติกรรม ต่างๆเป็นไปตามธรรมชาติโดยแท้จริง แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการสังเกตระยะหนึ่ง ซึ่งบางครั้งอาจค่อนข้างยาวนาน
การสังเกตด้วยวิธีการทางคลีนิค (Clinical Method of Observation) เป็นการศึกษาประวัติรายบุคคล (กรณีศึกษา) ซึ่งจะช่วยให้นักจิตวิทยาเข้าใจประวัติความเป็นมา พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู รวมไปถึงพื้นฐานของการ เกิดพฤติกรรม เพื่อใช้ประกอบการบำบัดรักษาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
วิธีการสังเกตดังกล่าวอาจเกิดผิดพลาดด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ ผู้ศึกษาจึงต้องมีการวางแผนและได้รับการฝึกฝนอย่างดี โดยเฉพาะการสังเกตวิธีทางคลีนิค ที่ไม่สามารถกระทำซ้ำได้
ทั้งวิธีการทดลองและวิธีการหาความสัมพันธ์ต่างก็มีประโยชน์และความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี แต่หลายๆ ครั้งที่มีการผสมผสานทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน เพื่อการศึกษาที่ละเอียดหลายๆด้าน และเป็นประโยชน์ในทางจิตวิทยามากยิ่งขึ้น
โครงสร้างของจิตวิทยา
จิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ, รูปแบบต่างๆของพยาธิสภาพทางพฤติกรรม, จิตบำบัด, และจิตวิทยาชุมชน
เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่
การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่ ผู้วิจัยต้องเป็นผู้มีระเบียบแบบแผน มีจรรยาบรรณของนักวิจัย มีจริยธรรมและความเป็นกลางทางสังคม
การวิจัยประยุกต์ ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ผลจากการวิจัยในปัญหานี้สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ การวิจัยดังกล่าวต้องได้รับการวางแผนดำเนินการ ควบคุมวิธีการด้วยความระมัดระวัง การวิจัย บริสุทธิ์ก่อให้เกิดการวิจัยประยุกต์อย่างมีแบบแผน
การประยุกต์ใช้ เป็นการประยุกต์คำตอบที่ได้ ไปใช้ในสถานการณ์จริงๆ ในโลกซึ่งไม่มีการควบคุม สภาวะใดๆ นักจิตวิทยากลุ่มที่มีการประยุกต์ใช้มากที่สุด คือ นักจิตวิทยาคลินิก รองลงมาคือ นักจิตวิทยาการศึกษา
สถานที่ดำเนินงานทางจิตวิทยา นักจิตวิทยาสาขาต่างๆทำงานในสถานที่แตกต่างกัน บางสาขาทำวิจัยและสอนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย บาง สาขาทำงานในคลินิกและโรงพยาบาล, ศูนย์บริการให้คำแนะนำปรึกษาต่างๆในโรงเรียน, บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม, ศูนย์สุขภาพจิต ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ศูนย์พักฟื้นคนไข้ที่เพิ่งถูกส่งออกจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการประชาชน เป็นต้น
ความสัมพันธ์ของจิตวิทยากับศาสตร์อื่น
จิตวิทยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับวิชาจิตเวชศาสตร์ (อันเป็นส่วนหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ คือสาขาที่ว่าด้วยการรักษาจิตใจ) และกับศาสตร์ทางชีววิทยา ซึ่งได้แก่ สรีรวิทยา ประสาทวิทยาและชีวเคมี พฤติกรรม ของบุคคลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาจากบุคคลนั้นโดยตรงก่อน ทั้งทางด้านพันธุกรรม ระดับวุฒิภาวะ และสภาพการ เคลื่อนไหวของร่างกาย และปัจจุบันก็สัมพันธ์อย่างเด่นชัดกับมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา โดยมานุษยวิทยาศึกษาจุดกำเนิด ของมนุษย์ และการสืบทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี สิ่งแวดล้อมทางสังคม ส่วนด้านสังคมวิทยาจะเน้น ศึกษากลุ่มสังคมมากกว่าตัวบุคคล โดยศึกษาการปะทะสังสรรค์ของแต่ละบุคคลในกลุ่ม และศึกษาอิทธิพลของกลุ่มที่มีต่อ แต่ละบุคคล
จิตวิเคราะห์
จิตแพทย์ชาวออสเตรียเชื้อสายยิว คือ น.พ. ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้พัฒนาวิธีการบำบัดทางจิตเรียกว่าจิตวิเคราะห์ การศึกษาของฟรอยด์เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และแปลความหมายพฤติกรรมของคนไข้ของเขา การศึกษาของเขาส่วนมากเป็นการทำความเข้าใจจิตไร้สำนึก การเจ็บป่วยทางจิต และจิตพยาธิวิทยา ทฤษฎีของฟรอยด์เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่นำมาใช้อธิบายพัฒนาการทางพฤติกรรมของมนุษย์ และได้กลายเป็นทฤษฎีที่รู้จักและถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเรื่องที่เขาศึกษานั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ การเก็บกดอารมณ์ทางเพศ และจิตไร้สำนึก ซึ่งในช่วงเวลานั้นเรื่องเหล่านี้ถือเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคม แต่ฟรอยด์ก็สามารถทำให้การศึกษาของเขาเป็นประเด็นสำหรับการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสุภาพได้
ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา
จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้ การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ
ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกาย
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า “ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบ” โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา
การขยายตัวทางจิตวิทยา
ห้องปฏิบัติการทดลองทางจิตวิทยาห้องแรก ถูกสร้างขึ้นโดย Wilhelm Wundt ในปี ค.ศ. 1879 ที่เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมนี โดยมีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้น คือ กลุ่มโครงสร้างนิยม (Structuralism) การศึกษาจิตต้องศึกษาส่วนย่อย ๆ ที่ประกอบขึ้นมา ใช้วิธีการพื้นฐานทางจิตวิทยา คือ การสังเกตตนเอง หรือที่เรียกว่า การตรวจพินิจจิต (Introspection)
ในปี ค.ศ. 1890 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้นใหม่อีก คือ กลุ่มหน้าที่นิยม (Functionalism) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เห็นว่า จิตวิทยาควรเป็นการศึกษาวิธีการที่คนเราใช้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่บุคคลนั้นพอใจ และเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพของบุคคลนั้นด้วย นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสนใจ ความรู้สำนึก (consciousness) เพราะความรู้สำนึกเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลเลือกกระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ความรู้สำนึกเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกวิเคราะห์เป็นส่วนย่อยได้ นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมมากกว่าการศึกษาพฤติกรรมที่ปรากฏออกมา ให้เห็น
ในช่วงเวลาเดียวกัน ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ได้เสนอทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic theory) โดยมีวิธีการศึกษา จากการสังเกตและรวบรวมประวัติคนไข้ที่มารับการบำบัดรักษา ฟรอยด์เชื่อว่าความไร้สำนึกมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของพฤติกรรม และเน้นถึงความต้องการทางเพศตั้งแต่วัยเด็ก
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จอห์น บี วัตสัน ได้ก่อตั้ง กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioralism) โดยเห็นว่า การตรวจพินิจจิตเป็นวิธีการที่ไม่ดีพอ การศึกษาจิตวิทยาควรจะหลีกเลี่ยงการศึกษาจากความรู้สำนึก แล้วหันไปศึกษา พฤติกรรมที่มองเห็นได้ เพื่อให้สามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ได้ และเน้นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่ามี อิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่าพันธุกรรมอีกด้วย
ในช่วงเวลาเดียวกัน ประเทศเยอรมนีได้เกิดกลุ่มจิตวิทยาขึ้น ได้แก่ จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) แนวคิดของจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นว่า การทำงานของจิตเป็นการทำงานของส่วนรวม ดังนั้นจึงสนใจศึกษาส่วนรวมมากกว่าส่วน ย่อย แนวคิดนี้เริ่มมีบทบาทขึ้นเมื่อนักจิตวิทยาชาวอเมริกันเริ่มให้ความสนใจในปัญหาของการรับรู้ การคิดแก้ปัญหาและ บุคลิกภาพ จนนำไปสู่การเกิดขึ้นของกลุ่มจิตวิทยาการรู้การเข้าใจ (Cognitive psychology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกภายใน ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล และต่อจากนั้นมา จิตวิทยาก็เป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปและนิสิตนักศึกษามาก ขึ้นเรื่อยๆ
จิตวิทยาในประเทศไทย
หลายคนเชื่อว่าจิตวิทยาเกิดขึ้นในโลกเมื่อ 2,500 กว่าปีมาแล้ว นั่นคือ จิตวิทยาทางพระพุทธศาสนา นั่นเอง สำหรับในประเทศไทยนั้น เพิ่งมีหลักฐานปรากฏว่ามีการสอนวิชาจิตวิทยาในโรงเรียนฝึกหัดครูปฐม ในช่วงเวลาก่อน พ.ศ. 2473 เล็กน้อย และในปี พ.ศ. 2473 ก็มีการสอนจิตวิทยาเป็นวิชาหนึ่งใน 5 วิชา ของการสอนวิชาครุศาสตร์ในคณะ อักษรศาสตร์และครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 กระทรวงศึกษาธิการด้วยความช่วยเหลือขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้จัดตั้ง สถาบันระหว่างชาติสำหรับการค้นคว้าเรื่องเด็กขึ้นในวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่วิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็ก ต่อมามีการศึกษาที่กว้างขวางมากขึ้น ใน สถาบันอื่นก็ได้เปิดหลักสูตรวิชาจิตวิทยาในหลายสาขา ในปัจจุบันและในอนาคต มีการคาดหวังไว้ว่าจิตวิทยาในประเทศไทย จะเจริญก้าวหน้า ช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)